ขออภัย

บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจากWebsiteต่างๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Lw 741คำบรรยายของรศ.พัฒนะเรือนใจดี วันที่ ๔ มิถุนายน๒๕๕๔

สรุปคำบรรยายของรศ.พัฒนะ  เรือนใจดี  วันที่  ๔  มิถุนายน  ๒๕๕๔ 
โดยนางสาวศุภรัตน์  ศรีนฤมล
หลักความสูงสุดของรัฐสภา  มี  ๕  ประการ
๑.     รัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐสภาให้ความไว้วางใจ
๒.     รัฐบาลมาจากเสียงข้างมาก
๓.     รัฐบาลและรัฐสภาต่างตอบโต้ซึ่งกันและกันได้
๔.     สมาชิกรัฐบาลมาจากสมาชิกรัฐสภา
๕.     รัฐสภาและรัฐบาลร่วมกันกำหนดนโยบายบริหารประเทศ
หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  มี  ๙  ข้อ  ซึ่งทั้งสองหลักไม่จำเป็นต้องไปด้วยกัน  แต่อาจจะอยู่ด้วยกันก็ได้  เช่นประเทศเยอรมัน  ประเทศเยอรมันมีหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  และหลักสูงสุดของรัฐสภา  ญี่ปุ่นมีทั้งสองอย่าง  แต่ประเทศอังกฤษมีเฉพาะหลักความสูงสุดของรัฐสภา  แต่ไม่มีหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ 
การจะรู้ว่ามีหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญหรือไม่ให้ดูจากหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  ๙  ข้อ  ดังนี้
๑.     รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
๒.     รัฐธรรมนูญต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
๓.     กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องแตกต่างจากการยกร่างกฎหมายอื่น
๔.     กระบวนการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องแตกต่างจากการแก้ไขกฎหมายอื่น
๕.     รัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติที่ใช้ตีความกฎหมายในศาล
๖.     รัฐธรรมนูญต้องมีองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ
๗.     การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (การละเมิดรัฐธรรมนูญ)  ทำได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น
๘.     คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร
๙.     ต้องมีระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ
การจะดูว่าเมืองไทยมีหลักความสูงสดของรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ให้ดูว่าเมืองไทยมีเลขมาตราหรือไม่  เช่น
-         มาตราที่แสดงหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด  มาตรา  ๖  
-         คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร  มาตรา  ๒๑๖
-         การละเมิดรัฐธรรมนูญทำได้แต่โดยฝ่ายนิติบัญญัติ  มาตรา  ๒๙๑
ถ้าหาครบทั้ง  ๙  ข้อ  ก็หมายความว่าเมืองไทยมีหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งคำตอบก็คือเมืองไทยมีหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  เพราะฉะนั้นหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญต้องมีระบบตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ  หรืออาจจะเรียกสั้น  ๆ  ว่า  การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ  นั้นก็คือ  ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ  ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจาก
Mabury  V  Madison           อาชญากรสงคราม            คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ            ศาลรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยเราเริ่มจาก คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.๒๔๘๙  -  ๒๕๔๐                 ศาลรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.๒๕๔๐  -  ปัจจุบัน
            ทั้งหมดนี้เรียกว่าวิวัฒนาการของระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ
            ถ้าประเทศเป็น  Constitutionalism  คือประเทศที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ  กฎหมายรัฐธรรมนูญต้องคงทนยาวนานต่อเนื่อง  ก็ต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่  ในเยอรมันมีสำนักงานชื่อสำนักงานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีอยู่แล้ว  แต่มีสำนักงานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  โดยมีเจ้าหน้าที่ค้นหากฎหมาย  ข้อบังคับ  กฎระเบียบ  ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ  เพื่อให้สำนักงานพิทักษ์รัฐธรรมนูญส่งเรื่องไปตรวจสอบยังศาลรัฐธรรมนูญว่าขัดกับกฎหมายขั้นพื้นฐาน  (Basic  Law)  หรือไม่  นี่คือสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ว่าถ้าเมืองไทยเป็นระบบรัฐสภาอาจไม่จำเป็นต้องมีหลักความสูงสุดของกฎหมายรัฐธรรมนูญแต่เรามี 
            สหรัฐอเมริกาแม้ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ  แต่เขาใช้ศาลสูงทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ
            ต่อไปจะศึกษาความหมายของภาษาอังกฤษที่ใช้ศึกษาในวิชานี้ที่เน้นมากมีทั้งหมด  ๑๙  คำ  แยกได้เป็น  ๔  ประเภท
            ระบบรัฐสภา
๑.                 Check  and  Balances  การถ่วงดุลอำนาจระหว่างนิติบัญญัติกับบริหาร
๒.                 Collective  Responsibility  การตรวจสอบซึ่งกันและกัน
๓.                 Bipolar  Distinction  การหลอมรวมอำนาจ  (ระหว่างนิติบัญญัติกับบริหาร)  ,  การผูกโยงอำนาจของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
๔.                 Strong  Legislation ฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็ง
๕.                 Constitutionalism  รัฐธรรมนูญนิยม
๖.                 Supremacy  of  the  Law  หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
๗.                 Supremacy  of  the  Parliament  หลักความสูงสุดของรัฐสภา
๘.                 Parliamentary  system  ระบบรัฐสภา
ระบบประธานาธิบดี
๙.                 Strong  Executive  หลักความเข็มแข็งของฝ่ายบริหาร
๑๐.            Separation  of  Power  หลักการแบ่งแยกอำนาจ
๑๑.            Strong  President  หลักประธานาธิบดีเข้มแข็ง
๑๒.            Presidential  system  ระบบประธานาธิบดี
Common Law
๑๓.            Judicial  Review  การตรวจสอบระหว่างศาล  ,  การเข้าตรวจสอบโดยสถาบันตุลาการ
๑๔.            Judge  Make  Law  คำพิพากษาศาลเป็นกฎหมาย
๑๕.            Judicial  Making  Policy  การวางนโยบายของศาล
๑๖.            Constitution  Convention  รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี
หลักสากล
๑๗.            Political  Question  Doctrine  หลักการศาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
๑๘.            Judicial  Selftraint  ศาลสละอำนาจทางการเมือง  ,  หลักการศาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
๑๙.            Act  of  Government  การกระทำของรัฐบาล  (ศาลปกครอง)
ขอฝากเป็นการบ้านให้นักศึกษาไปอ่านเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในหนังสือเรียนบทที่  ๘  การเลือกตั้งประธานาธิบดี  (หน้า  ๑๙๖ ๒๑๑) เผื่อข้อสอบออกว่า  ท่านเห็นว่าการเป็นประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีอะไรเป็นง่ายเป็นยากกว่ากัน  จงอธิบาย  โดยนักศึกษาต้องมีความรู้ก่อนว่ากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร  และกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นอย่างไร  ท่านจึงจะสามารถเขียนบทความนี้ได้  ซึ่งคำตอบก็คือการเป็นประธานาธิบดียากกว่า  คิดง่าย  ๆ  นายกรัฐมนตรีเลือกโดยคน  ๕๐๐  คน  แต่ประธานาธิบดีเลือกโดยคนทั้งประเทศ  ดังนั้นการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  ๆ  ให้นักศึกษาไปดูเผื่อจะออกเป็นข้อสอบ
อีกหัวข้อหนึ่งที่อยากจะให้ไปดูคือบทบาทของพรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองในระบบรัฐสภากับบทบาทของพรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองระบบประธานาธิบดีว่าแบบไหนมีความสำคัญมากกว่ากัน  ข้อสรุปก็คือ  พรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองในระบบรัฐสภามีบทบาทมากกว่า  ข้อสอบถามอย่างไรจงอธิบาย  ก็ต้องตอบว่ามี  กระทู้          ญัตติ         กรรมาธิการ         อภิปราย        ถอดถอน  อะไรก็แล้วแต่ที่ว่ารัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่สภาให้ความไว้วางใจ  คือตราบเท่าที่พรรคการเมืองในสภาให้ความไว้วางใจ  โดยผู้ประสานงาน  (VIP)  มีมติพรรค  อันนี้มีความสำคัญมาก  เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองระบบรัฐสภาจึงมีบทบาทมากกว่าพรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองระบบประธานาธิบดี  เพราะทันทีที่ประธานาธิบดีได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีก็จะสลัดพรรคการเมืองทิ้งทันที
ฉะนั้นบทบาทของพรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองระบบรัฐสภาต้องมีบทบาทมากกว่าในประเทศที่ปกครองระบบประธานาธิบดี  เพราะหากสังเกตรัฐธรรมนูญของประเทศที่ปกครองระบบรัฐสภาจะเห็นว่ามีกลไกของพรรคการเมืองให้ตรวจสอบรัฐบาล  มีกลไกของพรรคให้ตรวจสอบฝ่ายบริหารมากกว่า  ส่วนระบบประธานาธิบดีไม่มีอภิปรายไม่ไว้วางใจ  ไม่มีญัตติยื่นขึ้นไปเพื่อตรวจสอบ  ไม่มี  ๒/๓ หรือ  ๑/๕  จะไปเล่นงานประธานาธิบดี  สรุปไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นระบบที่แยกกัน  ประธานาธิบดีจะอยู่จนครบวาระ  เพราะถือว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง  ประชาชนก็เป็นคนตรวจสอบแม้จะมี  Impeachment  (ให้ไปดูเอง)  ก็ไม่ใช่เครื่องมือตรวจสอบของสภาคองเกรสที่จะตรวจสอบประธานาธิบดี  เพราะไม่ต้องตรวจสอบ  ต่างคนต่างอยู่ 
ดังนั้นองค์กรอิสระเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส  ความหมายก็คือฝรั่งเศสมีทั้งประธานาธิบดีมีทั้งนายกรัฐมนตรี  มีทั้งสองแบบ  แต่ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสมีอำนาจมากสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  และสามารถยุบสภาได้  การที่ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสมีอำนาจมากการปกครองของฝรั่งเศสจึงเป็นระบบประธานาธิบดี  ถ้าถามว่าใครจะตรวจสอบประธานาธิบดี  ในฝรั่งเศสจึงมีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเหมือนกับว่าคอยตรวจประธานาธิบดี  แล้วสหรัฐอเมริกาก็นำเอาองค์กรอิสระของฝรั่งเศสไปใช้  รูปแบบที่สหรัฐอเมริกาเอาไปใช้เรียกว่า  “Recall”  เป็นการตรวจสอบหรือถอดถอนผู้บริหารระดับสูง  แต่เอาเข้าจริง  Recall  ก็ไปไม่ถึงประธานาธิบดีมักจะเป็นระดับผู้ว่าการรัฐ  นายกเทศมนตรี  ข้าราชการระดับสูง  เอาเข้าจริงแล้วสหรัฐอเมริกาก็กอดอยู่กับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาด  เขาไม่ได้สร้างระบบให้ฝ่ายนิติบัญญัติไปตรวจสอบฝ่ายบริหาร  ถึงแม้จะมีความคลางแคลงใจในฝรั่งเศส  ฝรั่งเศสตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาแล้วสหรัฐอเมริกาเอาตาม  แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจสอบประธานาธิบดีได้
แต่ประเทศไทยซึ่งอยู่ในระบบรัฐสภากลับตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบฝ่ายบริหาร  (แทนฝ่ายนิติบัญญัติ)   ซึ่งขัดกับการแบ่งแยกอำนาจแน่นอนตามรัฐธรรมนูญปี  ๒๕๔๐  ต่อมารัฐธรรมนูญปี  ๒๕๕๐  นอกจากให้อำนาจองค์กรอิสระแล้วยังให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ  และศาลปกครองอีกด้วย  แล้วสภานิติบัญญัติอยู่ตรงไหน  เมื่อการทำงานไม่มีประสิทธิภาพจึงต้องมีการเสริมสร้างการทำงานของสภานิติบัญญัติ  หมายความว่า  กระทู้ต้องได้ผล  ญัตติต้องได้ผล  กรรมาธิการต้องได้ผล  อภิปรายต้องได้ผล  ถอดถอนต้องได้ผล  แต่ไม่ต้องไปถึงถอดถอนก็ได้  เอาแค่อภิปรายก็เหมือนอังกฤษเขาไม่มีการถอดถอนมีแค่อภิปรายไม่ไว้วางใจ  นี้คือ  Strong  Executive
Check   and  Balances  คือการถ่วงดุลอำนาจซึ่งอยู่ในระบบรัฐสภาไม่ใช่การแบ่งแยกอำนาจเพราะนั้นอยู่ในระบบประธานาธิบดี  การถ่วงดุลอำนาจเป็นการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับบริหาร  หัวใจของระบบรัฐสภาอยู่ตรงการตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติของฝ่ายบริหาร 
Bipolar Distinction  เป็นการหลอมอำนาจระหว่างนิติบัญญัติกับบริหาร  คือต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน  ดังสำนวนฝรั่งที่ว่า  สวมหมวกสองใบ  คือใบหนึ่งเป็นส.ส.  อีกใบหนึ่งเป็นรัฐมนตรี  เพราะฉะนั้นจึงแยกกันไม่ออกระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร  ตามที่บอกไปแล้วว่ารัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่สภาให้ความไว้วางใจ  จึงขึ้นอยู่กับรัฐสภา  ฉะนั้นการถ่วงดุลอำนาจจึงเป็นการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างสองอย่าง  โดยฝ่ายนิติบัญญัติมีกระทู้  ญัตติ  กรรมาธิการ  อภิปราย  ถอดถอน  ฝ่ายบริหารก็มีการยุบสภา  (ม.๑๐๘)  ซึ่งสามารถยุบได้แม้ไม่มีความผิด  เพราะการยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีเอาไว้ตอบโต้กับฝ่ายสภา  จึงไม่ควรเขียนให้การยุบสภาทำได้ยาก  ยุบครั้งเดียว  การยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีเหมือนการตราพระราชกำหนดซึ่งเป็นความสะดวกของฝ่ายบริหารตามที่เคยเรียนกันว่า  จำเป็น  เร่งด่วน  ฉุกเฉิน  เพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ  ก็สามารถออกกฎหมายได้  กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกในเวลาจำเป็นหากสภาปิด  โดยมากก็เป็นเรื่องการเงินการคลังทั้งหลาย  เขาเรียกว่า  พระราชกำหนด  แต่บัดนี้ไม่มีความสะดวกแล้วเพราะมาตรา  ๑๘๔  ,  ๑๘๕  ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้ามายุ่ง 
ดังนั้นให้นักศึกษาเข้าใจไว้ว่าความจริงต้องตอบโต้กันได้ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร  แต่บัดนี้เราพบว่ามีสิ่งที่ทำให้ไม่สามารตอบโต้กันได้โดยง่าย  เมื่อไม่ตอบโต้กันได้โดยง่ายจึงไม่  Collective  Responsibility  คือต้องให้ตรวจสอบได้โดยง่าย  ทำอย่างไรต้องให้ Collective  Responsibility  สำหรับการไม่ไว้วางใจ  คือต้องลดจำนวนเสียงให้น้อยลง  อย่าแยกทั้งคณะ  อย่าแยกรายบุคคล  ยิ่งตรวจสอบได้ง่ายขนาดไหนยิ่งสอดคล้องกับระบบรัฐสภาได้ขนาดนั้น  แต่ขอย้ำว่ารัฐบาลไม่แพ้อยู่แล้ว  เพราะรัฐบาลคือเสียงข้างมาก  แต่ประโยชน์ของระบบรัฐสภาอยู่ที่ว่านิติบัญญัติได้ตรวจสอบ
ประเทศไทยมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรัฐธรรมนูญ  (ปี  ๒๕๕๐)  ๓  ประการ  (อาจจะออกเป็นข้อสอบ)
๑.     มีการนำข้อเท็จจริงมาร่างกฎหมาย
๒.     มีการนำสิ่งที่อยู่ในระบบกฎหมายอื่นมาใส่ในการเมืองระบบรัฐสภา
๓.     มีการนำสิ่งที่อยู่ในระบบประธานาธิบดีมาใส่ในระบบรัฐสภา
ทั้ง  ๓  ข้อนี้คือสิ่งที่อาจารย์อยากจะนำเสนอให้เห็นสิ่งแปลกปลอมของรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๐  และเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้  (เพราะอาจออกเป็นข้อสอบไล่)  และจะต้องนำไปตรวจดูว่ารัฐธรรมนูญมาตราไหนที่มีสิ่งแปลกปลอม  ๓  อย่างนี้    อย่างเช่นการเอาข้อเท็จจริงมาร่าง  การเอาสิ่งที่อยู่ในระบบกฎหมายอื่นมาใส่ในระบบรัฐสภา
Collective Responsibility  เป็นหัวใจของระบบรัฐสภา  อาจารย์เคยเขียนบทความเมื่อประมาณปี  ๒๕๔๘-๒๕๔๘  ไว้ในสรรพากรสารเรื่อง  “Collective Responsibility”  อาจารย์อาจถามว่า  มันคืออะไร  มีอยู่หรือไม่ในรัฐธรรมนูญไทย  ถ้ามีจงแสดงให้ปรากฏ  ซึ่งมันคือหลักการตอบโต้ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร  มีอยู่หรือไม่ในรัฐธรรมนูญไทย  ตอบว่ามีคือ  กระทู้  ญัตติ  กรรมาธิการ  อภิปราย  ถอดถอน  ส่วนฝ่ายบริหารก็มีการยุบสภา  หรือตราพระราชกำหนด  แสดงให้ปรากฏก็ให้ไปดูว่ามีเรื่องเหล่านี้ในรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอย่างไร
Bipolar Distinction  การหลอมอำนาจ  หัวใจอยู่ที่อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร  ส่วนอำนาจตุลาการแม้ตำราฝรั่งจะรวมว่าเป็นอำนาจหนึ่งในวงกลมที่อยู่ทับกัน  แต่ตุลาการของอังกฤษมีที่มาจากประชาชนต่างจากไทย  ฉะนั้นของไทยจึงหมายถึงนิติบัญญัติกับบริหารส่วนตุลาการไม่เกี่ยว  ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลปกครอง  จึงไม่อยู่ใน  ๓  อำนาจนี้  ความจริงอำนาจขององค์กรอิสระต่าง  ๆ  ควรยุบรวมมาอยู่ที่กรรมาธิการ   เพราะกรรมาธิการก็คือ ส.ส.  ซึ่งส.ส. ก็คือสภานิติบัญญัติที่จับคู่ล้อกับกระทรวงต่าง  ๆ  อยู่แล้ว
Strong  Executive  ,   Strong  President  ประธานาธิบดีเข้มเข็ง  ประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารเป็นผู้สั่งการตัดสินใจเองทั้งสิ้น  มีเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น  โดยรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อประธานาธิบดี  ส่วนประธานาธิบดีรับผิดชอบต่อประชาชน  เพราะรัฐมนตรีประธานาธิบดีเป็นคนแต่งตั้ง  แต่รัฐมนตรีในระบบรัฐสภารับผิดชอบต่อสภา  (รวมนายกรัฐมนตรี)  แล้วสภารับผิดชอบต่อประชาชน
Constitution  Convention  อยู่ในประเทศอังกฤษ  เพราะอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร  ถือปฏิบัติมายาวนานจึงไม่ต้องตาย  ไม่ต้องตีความ  ถามว่าถ้าต้องการให้รัฐธรรมนูญของไทยมีชีวิตเหมือนรัฐธรรมนูญของอังกฤษ  คือลดการตีความ  ไม่ตาย  ไม่ตัน  ไม่ต้องตีความ  ไม่ต้องเกิดการขัดแย้ง  เราจะทำอย่างไร  ในเมื่อประเทศไทยรัฐธรรมนูญต้องเป็นลายลักษณ์อักษร  ไม่เหมือนกับอังกฤษที่ไม่มีตัว  จึงไม่มีการขัดแย้ง  เพราะไม่ติดกับกรอบ  ไม่ติดกับเลขมาตรา 
ที่จริงในรัฐธรรมนูญที่ควรใส่จริง  ๆ  มีเพียง  ๓  หลักเท่านั้น  ดังนั้นหากจะทำให้รัฐธรรมนูญมีชีวิตต้องทำให้มีมาตรา  ๗  ....ในเมื่อไม่มีการเขียนไว้  ไม่มีการปฏิบัติ  ให้ถือเอาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย....  อาจกล่าวได้ว่ามาตรา  ๗  เป็นการทำให้รัฐธรรมนูญมีชีวิต  คือหากไม่มีกฎหมายก็ให้ถือเอาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  เหมือนมาตรา  ๔  ในประมวลกฎหมายแพ่ง  คือการมีมาตรา  ๗  สามารถแก้ปัญหาได้  ส่วนตัวที่เปิดช่องให้ต้องส่งเรื่องในเวลาที่เกิดปัญหา  การเขียนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญยิ่งมีมากเท่าไรก็จะไปยุ่งเกี่ยวกับหลักการแบ่งแยกอำนาจแต่ถ้าตัดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญให้น้อยลงเหลือเพียง  ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ  นี่คือการทำให้รัฐธรรมนูญมีชีวิตสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง
Act  of  Government  การกระทำของรัฐบาล  (ศาลปกครอง)  ไม่ควรที่ศาลปกครองจะก้าวล่วง  เพราะอำนาจของศาลปกครองไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญ  แต่อยู่ในกฎหมายลูกซึ่งจะไม่ขออธิบายในวิชานี้
ในส่วนของอาจารย์จะเน้นเจาะเลขมาตราคือให้ความเห็นว่ามีเลขมาตราไหนไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา  ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในบทความที่อาจารย์เขียนเรื่อง  ***“ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี  ๒๕๕๐  (ในหนังสือหน้า  ๓๒๕ ๓๒๙)***  ซึ่งจะเน้นมาตราที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา  โดยหัวใจจะอยู่ที่หลัก  Collective  Responsibility  เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบเวลาที่เราจะตรวจสอบให้ดูว่าเลขมาตราไหนในรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องก็คือเลขมาตราที่ออกแบบให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบได้ไม่เต็มที่  หรือเลขมาตราที่นำเอากฎหมายอื่นมา  เช่น
มาตรา  ๑๕๙  เกี่ยวกับการอภิปราย  ,  จำนวนเสียงที่ใช้เสนออภิปราย  โดยให้เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี  ๒๕๔๐  กับ  ๒๕๕๐  ว่าแบบไหนการอภิปรายไม่ไว้วางใจทำได้ง่ายกว่า  โดยดูได้จากตัวเลขว่าแบบไหนตัวเลขน้อยกว่าแสดงว่าการอภิปรายทำได้ง่ายกว่า  เมื่อการอภิปรายทำได้ง่ายแสดงว่าสอดคล้องกับระบบรัฐสภา
มาตรา  ๑๕๘  ห้ามยุบสภาหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ไม่สอดคล้อง  เพราะหัวใจที่สำคัญอยู่ที่การโต้ตอบซึ่งกันและกัน  ดังนั้นการที่เขียนในรัฐธรรมนูญที่ว่าห้ามยุบสภาหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ  เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญจากข้อเท็จจริง  คือการที่นายกรัฐมนตรีไม่อยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจึงยุบสภาหนี  จึงบัญญัตติห้ามยุบสภาหนี  นี่เป็นการร่างจากข้อเท็จจริงซึ่งไม่ถูกต้อง  แต่นี่เป็นเรื่องที่ว่าฝ่ายบริหารเอาเรื่องการยุบสภามาเป็นเครื่องมือการตอบโต้กับฝ่ายนิติบัญญัติ  (ต้องทำได้)  เพราะนี่คือมาตรการตอบโต้กันต้องสามารถทำได้
ทั้งนี่อาจารย์ไม่เห็นด้วยที่มีการแยกอภิปรายทั้งคณะกับรายบุคคล  เพราะในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในกรณีของประเทศเยอรมันสามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ทุกคน  ซึ่งสอดคล้องกับระบบรัฐสภามากกว่า
ฉะนั้นในกรณีมาตรา  ๑๕๘ ,๑๕๙  ประเด็นที่หนึ่งอยู่ที่การลดจำนวนเสียงที่จะเสนออภิปรายลง  และประเด็นที่สองต้องไม่ห้ามการยุบสภาหนีเพื่อตอบโต้กับฝ่ายอภิปรายไม่ไว้วางใจ  และไม่มีความจำเป็นต้องเสนอผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  เพราะการที่ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นอยู่กับสภาไม่ใช่ฝ่ายค้าน
*** มาตรา  ๑๖๐  (เป็นมาตราที่ดี)  เพราะบัญญัติว่าแม้เวลาผ่านไปครึ่งเทอมแล้วสภาชิกรัฐสภาเหลืออยู่เท่าไรให้อภิปรายได้เท่านั้น  ซึ่งสอดคล้องกับระบบรัฐสภาที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้โดยง่าย
มาตรา  ๑๐๘  การยุบสภาต้องเขียนให้ทำได้โดยง่าย
มาตรา  ๑๗๔  (๖)  เป็นเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรี  ที่ว่ารัฐมนตรีต้องไม่เป็นวุฒิสมาชิก  ถ้าเป็นสมาชิกวุฒิสภาจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน  สมาชิกวุฒิสภาก็คือสมาชิกสภานิติบัญญัติ  ในประเทศอังกฤษนั้นส.ว.เป็นรัฐมนตรีได้  แต่เป็นกระทรวงที่ไม่ค่อยมีบทบาท  หากประเทศไทยจะให้ส.ว.เป็นรัฐมนตรีก็ทำได้  เพราะสมาชิกรัฐบาลมาจากสมาชิกรัฐสภา  แต่ต้องบอกว่าการที่เขียนว่า  ม.๑๗๔  (๖)  ต้องไม่เป็นวุฒิสมาชิกดีตรงที่ว่าไม่ตัดส.ส.  เสดงว่าเป็นส.ว.ต้องห้าม  ส.ส.เป็นได้  คนนอกเป็นได้  จึงดีตรงที่ว่าไม่ห้ามส.ส.  เพราะรัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐  ห้ามส.ส.  รัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐  เป็นการแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร  ส.ส.เป็นรัฐมนตรีไม่ได้นั้นเป็นระบบประธานาธิบดี  รัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐  ทำให้เป็นระบบประธานาธิบดีไม่ถูกต้อง  โดยเฉพาะประเด็นนี้ไม่ถูก  ดังนั้นการที่จะให้วุฒิสมาชิกเป็นก็ยังไม่ผิดแต่ผิดที่ไม่ห้ามคนนอก  เพราะคนนอกไม่ใช่คนของเรา  เพราะประชาธิปไตยต้องเป็น  by  the  people  for  the  people  ,  of  the  people  (ของเรา)  แต่คนนอกไม่ใช่คนของเรา  คนที่จะเข้าสู่อำนาจรัฐนั้นต้องมาจากการเลือกตั้ง  ฉะนั้นมาตรานี้ดีตรงที่ไม่ห้ามส.ส.  ไม่ดีตรงที่ว่าคนนอกยังเป็นได้อยู่
มาตรา  ๑๗๖  เรื่องการแถลงนโยบาย  การแถลงนโยบายต้องให้มีการลงคะแนน  เพื่อให้สอดคล้องกับระบบรัฐสภา  รัฐธรรมนูญ  ๒๕๑๗  การแถลงนโยบายให้มีการลงคะแนน  นี่คือนโยบายการเสริมสร้างการปกครองระบบรัฐสภา  คือยิ่งให้อำนาจกับสภามากเท่าไรยิ่งเป็นการเสริมสร้าง  ตัวอย่างเช่น  มาตรา  ๑๒๙  ,  ๑๖๑  ,  ๑๗๙   เป็นมาตราที่ให้สภาสามารถอภิปรายได้  หรือพูดอีกอย่างคือการเปิดอภิปรายของวุฒิสภา  มาตรา  ๑๒๙  ,  ๑๖๑  ,  ๑๗๙  ***ต้องให้มีการลงคะแนน***  แต่การลงคะแนนนี้ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการอยู่หรือไปของรัฐบาล  เพราะการลงคะแนนเปรียบเสมือนการฟังสภา  เป็นการเสริมสร้างการทำงานของสภานิติบัญญัติเท่านั้น
(หากอาจารย์จะถามว่า  ท่านสามารถระบุเลขมาตราของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภาได้หรือไม่  ถ้าได้จงระบุมา  ๔ ๕  ประเด็น)  (อาจเป็นข้อสอบไล่) 
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการเสริมสร้างการทำงานของสภาทั้งสิ้น  ทั้งสามมาตราที่กล่าวมาต้องให้มีการลงคะแนน  เพราะการลงคะแนนเท่ากับการฟังสภา  แต่ไม่เท่ากับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของวุฒิสภา  นี่ไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ  เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีเพียง  ๓  มาตรา  คือ  มาตรา  ๑๕๘  ,  ๑๕๙   ๑๖๐  แต่เป็นมาตรการเสริมสร้างการทำงานของสภา เพื่อให้ฝ่ายบริหารรู้ว่าสภาไม่พอใจการทำงาน  และที่สำคัญที่สุดคือเป็นการฟ้องประชาชนว่าวุฒิสภาไม่พอใจ  ***แต่รัฐบาลยังคงอยู่ต่อไปได้***  เพราะไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่เป็นการเสริมสร้างการทำงานของสภา
            แต่หากจะให้วุฒิสมาชิกสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ก็สามารถทำได้แต่ต้องเปลี่ยนที่มาของส.ว.จากการเลือกตั้ง + สรรหา  (แต่งตั้ง)  เป็นเลือกตั้งทั้งหมด  (เหมือนรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐)  ก็สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้  เพราะวุฒิสมาชิกในระบบรัฐสภาไม่มีที่ไหนมาจากการแต่งตั้ง  โดยเฉพาะประเทศอังกฤษมีอำนาจเพียงกลั่นกรองกฎหมาย  เป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น  แต่ของไทยมีอำนาจในการแต่งตั้ง  ถอดถอนองค์กรอิสระ  ตรวจสอบรัฐบาล  ซึ่งมากเกินไป
            ที่มาของส.ส.  ส.ว.  ไม่เกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภา  เพราะระบบรัฐสภาทั้ง  ๕  ข้อไม่มีคำว่าที่มาของส.ส.  หรือส.ว.  แต่ที่มาของส.ส.  ส.ว.  เป็นเพียงวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง
            ดังนั้นหากจะให้ส.ว.สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ต้องเปลี่ยนที่มาของส.ว.  ส่วนที่มาของส.ส.ต้องมีที่มาแบบเขตคือ  one man  one  vote  หากจะมี  Party  list  ต้องดูรูปแบบของรัฐเป็นแบบไหนการจัดแบ่งเขตเลือกตั้งต้องสอดคล้องตามนั้น  เช่น
Zone list  ใช้กับมลรัฐ  หรือรัฐรวม  คือการจัดกลุ่มเลือกตั้ง
            Nation list  ประเทศรัฐเดี่ยว  เช่นประเทศไทย  คือไม่แบ่งแยกทั้งประเทศเป็นพื้นที่เลือกตั้ง
***การจัดการเลือกตั้ง  การจัดแบ่งเขตเลือกตั้งไม่เกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภา***  แต่เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย
        เลขมาตราที่ว่าด้วยคณะกรรมการการสรรหา
            มาตรา  ๒๓๑  กกต.                                        องค์ประกอบของคณะกรรมการการสรรหาซึ่งอยู่ในระบบ  
            มาตรา  ๒๔๖  ปปช.                                        ประธานาธิบดี  จึงไม่ควรมีในระบบรัฐสภา แต่หากจะมี
            มาตรา  ๒๔๓  ผู้ตรวจการแผ่นดินข องรัฐสภา    ก็ให้ไปตรวจสอบการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะนั้นคือ
            มาตรา  ๒๕๒  คตง.                                       ระบบประธานาธิบดี ดังนั้นจึงไม่ควรมีในระบบรัฐสภา
มาตรา  ๒๐๖  ศาลรัฐธรรมนูญ
            มาตราที่ไม่สอคล้องกับระบบรัฐสภา
มาตรา  ๑๖๔  ถอดถอน  แต่ไม่ใช่การถอดถอนโดยประชาชน  เพราะต้องจบที่  มาตรา  ๒๗๐ , ๒๗๑ , ๒๗๒  โดยประชาชนเป็นผู้ยื่นนำส่งให้วุฒิสภาเป็นผู้ถอดถอน  เพราะให้ประชาชนเป็นผู้ถอดถอนเองจะเป็นระบบประธานาธิบดี  ไม่ใช่ระบบรัฐสภา
มาตรา  ๑๖๒  บรรทัดสุดท้าย , ๑๒๒  คือการให้ส.ส.มีอิสระ
มาตรา  ๑๗๑  การจำกัดวาระของนายกรัฐมนตรี
มาตรา  ๑๗๗  วรรคสอง  การห้ามส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีลงคะแนน
มาตรา  ๑๘๔ , ๑๘๕  อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา  ๒๓๗  , ๒๖๘  เรื่องการยุบพรรค  เพราะพรรคการเมืองเป็นหัวใจของระบบรัฐสภา
***การใส่เลขมาตราไม่จำเป็นในการเขียนสอบ  จำไม่ได้ไม่เป็นไร  แต่หากใครเขียนถูกจะได้คะแนนเพิ่ม  หากเขียนผิดถูกหักคะแนน***
มาตรการเสริมสร้างการทำงานของสภานิติบัญญัติ  (เสริม Collective Responsibility ให้ดีขึ้น)
-                     กระทู้  ต้องบังคับให้ตอบ  หากเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐  กับ  ๒๕๕๐  จะพบว่ารัฐธรรมนูญ  ๒๕๕๐  บังคับมากขึ้นโดยพิจารณาจากมาตรา  ๑๕๖  ,  ๑๖๒  จะพบว่ามีการบังคับ  คือการวางข้อยกเว้นในการไม่ตอบกระทู้ต้องมีความจำเป็นและสำคัญจริง  ๆ  จึงจะทำได้  แต่นอกจากนั้นแล้วจะบังคับให้ตอบ  ซึ่งถือว่าดี
-                     ญัตติ  ไม่มีรายละเอียดในรัฐธรรมนูญ  แต่มีรายละเอียดอยู่ในข้อบังคับการประชุมส.ส. ๕๑  ข้อบังคับการประชุมส.ว.  ๕๑  ,  ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ๕๑  ซึ่งเป็นการใช้ข้อบังคับการประชุมมาควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ  เพราะข้อบังคับเหล่านี้ให้อำนาจประธานในการประชุมสภามากเกินไป  ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุ  การเลื่อน  การย้าย  การสลับ  หรือแม้แต่การควบคุมการประชุม  เหล่านี้เป็นการทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา  หากต้องการให้สอดคล้องต้องลดอำนาจของประธานลง  หรืออาจจะมีกรอบที่สร้างการบังคับการใช้ดุลพินิจของประธาน
-                     กรรมาธิการ   ควรเอาอำนาจขององค์กรอิสระมาให้กับกรรมาธิการ  แล้วกรรมาธิการควรเสริมให้มีอำนาจในการลงโทษข้าราชการ
-                     อภิปราย  ไม่ควรใช้เสียงมากเกินไปในการยื่นขออภิปราย  เพื่อส่งเสริมให้  Collective Responsibility   คือให้ตรวจสอบได้โดยง่าย   ยิ่งสภานิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้โดยง่ายขนาดไหนก็ยิ่งดี
-                     ถอดถอน  มาตรา  ๑๗๑ , ๑๗๒ เห็นว่าไปเกี่ยวข้องกับ  ปปช.  กับอัยการสูงสุด  ซึ่งไม่ถูกต้องควรจะเอาออกให้หมด  แล้วให้วุฒิสภาทำหน้าที่ในการถอดถอน  ***แต่วุฒิสมาชิกก็ต้องเปลี่ยนที่มา*** 
-                     การให้นายกรัฐมนตรีเป็นคนละคนกับหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก  ***แต่ทั้งสองคนนี้ต้องอยู่ในพรรคเดียวกัน***  เพื่อให้หัวหน้าพรรคตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ในเวลาประชุมพรรค
-                     การยับยั้งกฎหมาย  เป็นพระราชอำนาจ  แต่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแค่ยุบสภากับตราพระราชกำหนด  แต่ปัจจุบันการตราพระราชกำหนดต้องถามศาลรัฐธรรมนูญ  จึงดูประหนึ่งว่ามาตรการตอบโต้ของฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ  ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติมี  ๕  ประการ  แต่ฝ่ายบริหารยังคงเหลือเพียงแค่การยุบสภาเท่านั้น  อาจารย์จึงคิดว่าฝ่ายบริหารจึงควรมีอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเรื่องของมาตรการเสริมสร้างการทำงานของสภานิติบัญญัติ
(หากข้อสอบออกมาว่าจงระบุมาว่ามีอะไรที่ไม่สอดคล้องบ้าง  ก็ให้ตอบตามเลขมาตราที่อาจารย์สอนมาทั้งหมด 
แล้วหากถามต่อมาว่าในฐานะที่ท่านศึกษาท่านเห็นว่ามีมาตรการใดในการเสริมสร้างการทำงานของรัฐสภา   ก็ให้ตอบถึงมาตรการดังกล่าว)
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  ๒๕๕๐
หากกฎหมายรัฐธรรมนูญดีก็จะทำให้กฎหมายพรรคการเมืองดี  แต่กฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันมีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมากซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบรัฐสภา  เพราะการเมืองระบบรัฐสภาเป็นระบบการเมืองที่ให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง  เพราะพรรคการเมืองเป็นหัวใจของระบบรัฐสภา  หากพบว่ามีบทบัญญัติที่ให้ยุบพรรคการเมืองมาก  ๆ  นั่นคือระบบที่ทำลายพรรคการเมือง  ทำลายระบบรัฐสภา  ถ้าดูจากกฎหมายรัฐธรรมนูญก็เช่น  มาตรา  ๒๓๗  ,  ๖๘  ,  ๖๕  นี่คือบทหลักที่พูดถึงพรรคการเมือง  โดยเฉพาะมาตรา  ๖๕  ถือเป็นบทที่มีความสำคัญมาก  ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเรื่องพรรคการเมือง   แม้มาตรา  ๖๕  วรรคสอง  ที่เขียนเรื่องความเป็นประชาธิปไตยของพรรคการเมือง  ก็ยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองออกมารองรับว่าจะทำอย่างไรให้เป็นประชาธิปไตย  ยังพูดกันกว้าง  ๆ  ระหว่างมติพรรคกับอิสระของส.ส.  แต่สิ่งสำคัญต้องที่ตัวพรบ.พรรคการเมือง  หากเปรียบเทียบทั้งสองฉบับคือฉบับ  ๒๕๔๑  กับ  ๒๕๕๐  ฉบับ  ๒๕๕๔  ไม่ได้แก้ไขอะไรมากส่วนใหญ่จะแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับรับจำนนวนส.ส.  และการมีส่วนร่วมของประชาชน  (ของสาขาพรรค)  ในการคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนของพรรค  แต่ไม่พูดถึงเรื่องการดำเนินกิจการทางการเมือง  ยังคงปล่อยให้เป็นตามพรบ.พรรคการเมือง  ๒๕๕๐  ยังไม่ค่อยแตะกับตัวของกฎหมายที่ว่าด้วยการดำเนินกิจการทางการเมือง  เช่นมาตรา  ๙๑ - ๙๔  เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรค  ซึ่งนับได้  ๑๘  ประเด็น  หากถามว่าบทบัญญัติพรรคการเมืองใดที่ต้องแก้ไข  ตอบว่าเรื่องการยุบพรรคทั้งหมด  ให้เหลือเพียง  การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  ซึ่งประเทศอื่น  ๆ  จะไม่มีบทบัญญัติเรื่องการยุบพรรค  แต่จะมีบทบัญญัติว่าด้วยการขับออกจาการเป็นสมาชิกพรรค  แสดงให้เห็นว่ามติพรรคต้องยิ่งใหญ่กว่าอิสระของผู้แทน  คือพรรคต้องสามารถสั่งได้  การเมืองระบบรัฐสภาเป็นการเมืองที่ให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง  ฉะนั้นหากเห็นเลขมาตราไหนของพรบ.พรรคการเมืองที่ทำลายพรรคการเมือง  เลขมาตรานั้นก็เป็นอุปสรรคต่อระบบรัฐสภา  เช่น  มาตรา  ๙๑ , ๙๔  โดยเฉพาะมาตรา  ๙๔  (๕)  มี  มาตรา  ๒๑  รับต่างด้าวเข้าพรรค  ,  ๔๓  ช่วยส.ว.หาเสียง  ,  ๖๕  รับเงินสกปรก  ,  ๖๖ รับเงินมาทำลายประชาธิปไตย  ,  ๖๙  รับเงินต่างประเทศ  ,   ๑๐๔  กลั่นแกล้งพรรคอื่น  ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะถึงข้อหายุบพรรค  เพราะพรรคเป็นสถาบันไม่รู้เรื่อง  แต่พฤติการณ์เหล่านี้ควรเล่นงานที่ตัวคน  ฉะนั้นมาตรา  ๙๔ (๕) ควรเอาออกให้หมด 
หากเปรียบเทียบกฎหมายพรรคการเมืองปี  ๒๕๔๑  กับ  ๒๕๕๐  จะพบว่า  ปี  ๒๕๔๑  มีสภาพบังคับ  ๔  อย่างคือ
โทษทางแพ่ง
โทษทางอาญา
ยุบพรรค
ห้ามตั้งพรรคใหม่เป็นเวลา  ๕  ปี  (ห้ามกรรมการบริหารพรรค)
แต่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาอีก  ๒  อย่าง คือ
            โทษทางปกครอง
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง  ซึ่งการเพิ่มมานี่หากพิจารณาจากมาตรา  ๓  (๓)  ที่ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ แต่ความจริงนำไปบัญญัติไว้ในมาตรา  ๙๘  เป็นเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง   ไม่ใช่สิทธิทางการเมือง  (ให้นักศึกษาไปหามาว่า  สิทธิเลือกตั้ง กับ สิทธิทางการเมือง อันไหนใหญ่กว่ากัน)
มาตรา  ๘  (ดี)  เป็นเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง  สืบเนื่องมาจากมาตรา  ๖๕  ของรัฐธรรมนูญ  อนุญาตให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้โดยง่าย  ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี  เพราะพรรคการเมืองเป็นหัวใจของการเมืองระบบรัฐสภา  ยิ่งมากยิ่งดี  เพราะพรรคการเมืองคือ  ตัวแทนทางความคิด  ตัวแทนทางเจตจำนง  ตัวแทนทางความคิดของประชาชน  คนที่มีความเห็นในหลักการใหญ่  ๆ  ในเรื่องการเมืองสังคมเดียวกันมารวมตัวกัน 
            มาตรา  ๙  บรรทัดสุดท้าย  เรื่องของพรรคเมืองที่ถูกยุบ  ก่อนนี้มีปัญหาว่าพรรคการเมืองจะใช้ชื่อพรรคเดิมได้หรือไม่  มาตรานี้ห้ามใช้
มาตรา  ๑๐  (๑๐) , (๑๓)  (ดี)  พูดถึงรายได้ของพรรคการเมือง  แต่มีปัญหาตรงคำว่าข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องไม่มีลักษณะหรือความมุ่งหมายต่อไปนี้  [วรรคสอง  (๒)]  ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของส.ส.  มาจากรัฐธรรมนูญมาตรา  ๑๖๒  บรรทัดสุดท้าย  มาโยงกับมาตรานี้  ที่บอกว่ามติพรรคกับอิสระของส.ส.  ที่ว่าอิสระของผู้แทนยิ่งใหญ่กว่ามติพรรค  มาโยงกับมาตรานี้ที่ว่าขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของส.ส.  แสดงว่าทั้งสองมาตรานี้สอดรับกัน  คือส่งเสริมให้ส.ส.ไม่ต้องฟังมติของพรรคซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง
            มาตรา  ๑๖  บรรทัดสุดท้าย  (ดี) ให้พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล  ถือว่าเป็นการรับรองสถานะของพรรคการเมือง
            มาตรา  ๑๘  ถ้าทำผิดแล้วจะมีโทษ
มาตรา  ๒๐  (๖)  เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในขณะเดียวกันเกินกว่าหนึ่งพรรคการเมือง  ถ้าฝ่าฝืนจะต้องไปดูมาตรา  ๒๔  ซึ่งห้ามให้ผู้ใดเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเกินกว่าหนึ่งพรรคในขณะเดียวกัน  ฝ่าฝืนให้ดูบทกำหนดโทษในมาตรา  ๑๒๕ 
มาตรา  ๒๒  จ้างเข้าพรรค  ฝ่าฝืนดูมาตรา  ๑๐๙
มาตรา  ๒๖  การหาสมาชิกภายในหนึ่งปี  (ขยายจากของเดิม  ๑๘๐  วัน)  ให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่า  ๕,๐๐๐  คน  กระจายในแต่ละภาค  หากดำเนินการไม่ได้โดนยุบพรรค  ดูจาก  มาตรา  ๙๑
[มาตรา  ๙๑  (๑)  คือต้องสิ้นสภาพพรรค
มาตรา  ๙๑  (๒)  (ไม่ดี)  ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งสองครั้งติดต่อกัน 
มาตรา  ๙๑  (๓)  สมาชิกเหลือไม่ถึง  ๕,๐๐๐  คน 
มาตรา  ๙๑  (๔)  ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่
มาตรา  ๙๒  เปรียบเหมือนพรรคเฉพาะกิจ
มาตรา  ๙๓ (ไม่ดี)   มีมาตรา  ๔๒  กับ  ๘๒
มาตรา  ๔๒  ไม่แจงบัญชีรายรับรายจ่าย
มาตรา  ๘๒  เอาเงินที่  กกต.ให้ไปใช้ ไม่ตรงวัตถุประสงค์
มาตรา  ๙๔  (๑)  -  (๔)  ควรนำมารวมกันให้หมดแล้วเรียกว่า  ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”]
มาตรา  ๓๑  (ดี)  เปรียบเหมือนวิธีการชั่วคราว  คือมีการเตือน  มีการบอกก่อน  มีการให้หยุดปฏิบัติหน้าที่  ซึ่งน่าจะมีการขยายไปสู่การลงโทษลักษณะอื่น  ๆ   ต่อไป
มาตรา  ๓๒  (ดี)  ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกพรรคสามารถถอดถอนสมาชิกพรรคได้
มาตรา  ๓๗  (ไม่ดี)  มีการแก้ไขแต่ไม่ต่างจากเดิมนักคือจะมีการย่ำเรื่องการเข้ามีส่วนร่วมของสาขาของสมาชิกพรรค  หรือพูดว่าชาวบ้านหรือสมาชิกพรรคมีส่วนในการคัดเลือกผู้สมัครมากกว่ามติพรรค  หรือพูดง่าย  ๆ  คือ  มติพรรคต้องฟังสาขาพรรค  ฟังสมาชิก  ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องเพราะมติพรรคมีความสำคัญในการเมืองระบบรัฐสภา 
มาตร  ๓๘  วรรคท้าย  (ดี)  มติพรรคให้ส่งผู้สมัครให้เป็นที่สุด
มาตรา  ๔๓  (ไม่ดี)  ช่วยส.ว.หาเสียง
มาตรา  ๔๘  (ดี)  รายได้และทรัพย์สินพรรคไม่ต้องเสียภาษี
มาตรา  ๔๙  ต้องแจงรายการทรัพย์สิน
มาตร   ๕๖  ,  ๕๗  ,  ๕๙  เงินบริจาคพรรคการเมือง  ปัจจุบันอนุญาตให้เอกชนบริจาคเงินให้พรรคการเมืองได้แล้ว  แต่ต้องเปิดเผย  ซึ่งห้ามเฉพาะเงินต่างชาติ  แต่สามารถรับเงินคนไทยได้ 
มาตรา  ๖๕  รับเงินสกปรก
มาตรา  ๖๖  รับเงินมาทำลายชาติ
มาตรา  ๖๙  ห้ามรับเงินต่างชาติ
มาตรา  ๗๓  (ดี) ให้มีกองทุนพรรคการเมืองเอาไว้ใช้เวลาฉุกเฉิน
มาตรา  ๗๕  ,  ๗๖  ,  ๗๘  (ไม่ดี)        -  เป็นการมองการเมืองแต่ในสภา
-  ถ้าพรรคการเมืองไม่มีที่นั่งในสภาจะไม่ได้รับการเหลียวแล
-  ต้องมีคะแนนเสียง  ถ้าไม่มีคะแนนเสียงจะไม่มีเงิน  สนับสนุน
เป็นการบัญญัติเรื่องการให้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองแคบเกินไป  ทำลายพรรคการเมืองพรรคเล็กที่ไม่มีที่นั่งในสภา  ไม่มีบทบาท  เมื่อไม่สนับสนุนพรรคเล็ก  ก็ถือว่าไม่สนับสนุนระบบรัฐสภา
            มาตรา  ๗๙  ,  ๘๐  (ดี)  ให้เวลาออกอากาศ  แล้วนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียง
มาตรา  ๘๒  เอาเงินกกต.ให้ไปใช้มั่ว
มาตรา  ๙๑ - ๙๔  เรื่องการยุบพรรค
มาตรา  ๙๕  ขั้นตอนการยุบพรรค
มาตรา  ๙๖  พรรคยุบ  หรือเลิก  หรือสิ้นสภาพพรรค  ให้ชำระบัญชี
มาตรา  ๙๗  ห้ามตั้งพรรคใหม่ภายใน  ๕  ปี  (เฉพาะกรรมการบริหารพรรค)
มาตรา  ๙๘  เพิกถอนสิทธิเลิกตั้ง  (กรรมการบริกพรรค)
            มาตรา  ๙๙  (ดี)  ห้ามรวมพรรคหลังเลือกตั้ง  มาจากมาตรา  ๑๐๔  ของรัฐธรรมนูญ
            มาตรา  ๑๐๒  (ไม่ดี)  เป็นการรวมพรรคที่ไม่ให้เกียติรสมาชิก
มาตรา  ๑๐๔  กลั่นแกล้งพรรคอื่น
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดของกฎหมายพรรคการเมือง  *โดยจุดสนใจจะอยู่ที่การยุบพรรคการเมือง*  ให้นักศึกษาดูว่ามีเหตุใดบ้างที่เป็นเหตุของการยุบพรรค
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
สรุป
เรื่องที่อาจารย์สอนทั้งหมดมี  ๒  กฎหมายหลักคือ
-  กฎหมายรัฐธรรมนูญ
-  กฎหมายพรรคการเมือง
โดยเอาระบบรัฐสภาเป็นตัวตั้งแล้วตรวจสอบ  ๒  กฎหมาย  ว่าเลขมาตรา  ไหนของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
ส่วนข้อเปรียบเทียบก็คือระบบประธานาธิบดี  ก็ให้เอาตัวระบบประธานาธิบดีวางแล้วตรวจสอบกับพระราชบัญญัติส่วนท้องถิ่น  เช่น  มีคำว่าผู้ว่า  ฯ  นายอำเภอ  คำพวกนี้เป็นการแทรกแซงของราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาคที่เข้ามากระทบท้องถิ่น  ขัดกับหลักระบบประธานาธิบดี
            คำว่าการมีเสถียรภาพของรัฐบาลในระบบรัฐสภา  คือการเปลี่ยนแปลงภายใต้กรอบของกลไกในกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้  เช่นเลือกตั้งไปไม่นานยุบสภา  แล้วเลือกตั้งใหม่  แล้วก็มีการปรับคณะรัฐมนตรี  แบบนี้เรียกว่าการเมืองมีเสถียรภาพถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม  เพราะคาดหมายได้  แต่ถ้ามองว่าเสถียรภาพคือความคงทนของรัฐบาลแบบนี้ไม่ใช่  เพราะนั่นคือระบบประธานาธิบดีไม่ใช่ระบบรัฐสภา   นี่เป็นเรื่องของสองระบบที่มีความแตกต่างกันจะเหมาว่าการเมืองในระบบรัฐสภาที่เปลี่ยนรัฐบาลบ่อยคือระบบรัฐสภาที่ไม่มีเสถียรภาพไม่ได้  การไม่มีเสถียรภาพคือการเปลี่ยนในวิถีที่ไม่ใช่ตามวิถีของรัฐธรรมนูญเขียนไว้  ฉะนั้นสองการเมืองนี้มีปรัชญาที่แตกต่างกัน  สาเหตุที่ระบบการเมืองทั้งสองมีความแตกต่างกันเพราะที่มาของอำนาจไม่เหมือนกันกลไกในการตรวจสอบจึงไม่เหมือนกัน  ที่สำคัญคือเรามีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือรับใช้ระบบการเมือง  เมื่อระบบการเมืองเป็นอย่างไรกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องเขียนให้สอดรับ  สิ่งที่เป็นอันตรายคือการเมืองในระบบรัฐสภาปล่อยให้สิ่งแปลกปลอม  ๓  ประการเกิดขึ้นคือ
-         ร่างกฎหมายจากข้อเท็จจริง
-         เอาระบบกฎหมายในระบบการเมืองอื่นมาใส่
-         มีการนำสิ่งที่อยู่ในระบบประธานาธิบดีมาใส่ในระบบรัฐสภา
ซึ่งจะกลายเป็นระบบรัฐสภาที่รุงรัง  เวลาสอบก็จะถามว่าอย่างไรจงอธิบาย
            ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลปกครอง  แทรกเข้ามาให้เห็นว่ากระทบอำนาจระบบการปกครอง
*****อะไรที่ไม่ออกจากปากผมแม้จะมีในหนังสือก็จะไม่ออกสอบ*****
หลักการเขียนตอบ
-         ทฤษฎี
-         วินิจฉัย   แสดงความเห็น
-         บทส่งท้าย
ให้แบ่งเวลาในการเขียนคำตอบให้พอดีอย่าทุ่มเทให้ส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป
หลักการให้คะแนน
เข้าเรียน                ๕       คะแนน
สอบย่อย            ๑๐       คะแนน
รายงาน             ๑๕       คะแนน
สอบไล่              ๒๐       คะแนน
รวม                   ๕๐       คะแนน
กำหนดส่งรายงาน  วันที่  ๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๕๐  ให้ส่งทางไปรษณีย์
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น