ขออภัย

บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจากWebsiteต่างๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา



วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุป Lw 741 โดย คุณ สมพงศ์

วิชา รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง
คำถาม
๑. จากการศึกษา หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หลักความสูงสุดของรัฐสภา หลักรัฐธรรมนูญนิยม ท่านคิดว่าหลักการเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน 2550 หรือไม่ โดยระบุตอบให้ชัดเจนว่ามีอยู่หรือไม่ และอย่างไรในแต่ละหลักการ
๒. ท่านคิดว่าการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีความเหมาะสม หรือสอดคล้องกับหลักการตามข้อ ๑ หรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด หรือเรียกว่า หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (Supremacy of the Law) รองลงมา คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ประกาศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประเทศไหนจะบัญญัติอย่างไรก็แล้วแต่แต่ละประเทศ ความสูงสุดระบบรัฐสภา เป็นคนละเรื่องกับ ความสูงสุดของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ต้องร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ระบบการเมือง ไม่ใช่เอาข้อเท็จจริงหรือปัญหาทางการเมืองมาร่างรัฐธรรมนูญ
หลักความสูงสุดของระบบรัฐสภา( Supremacy of the Parliament) ทฤษฏีหรือหลักของระบบรัฐสภา (Collective Responsibility) การตรวจสอบซึ่งกันและกัน การหลอมรวมอำนาจ การผูกโยงอำนาจของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ เป็นหลักการสำคัญของการปกครองในระบบรัฐสภา คือหลักความใกล้ชิดกันอย่างยิ่งของการเมืองในระบบนิติบัญญัติ กับการเมืองในระบบบริหาร หมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติต้องตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ตลอดเวลา และในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารก็ต้องสามารถตอบโต้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน การตอบโต้ซึ่งกันและกัน หมายความว่า เมื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ก็ยุบสภาได้เช่นกัน ซึ่งเป็นหลักของการปกครองระบบรัฐสภา ประเทศไหนเขียนรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งกับฝ่ายบริหารก็สอดคล้องกับระบบรัฐสภา แต่ถ้าประเทศไหนเขียนรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายนิติบัญญัติห่างออกไปจากฝ่ายบริหาร มันก็ไม่สอดคล้อง ที่สอดคล้องคือต้องเขียนให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นใหญ่กว่าฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเขียนให้ฝ่ายบริหารใหญ่กว่าฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
เผด็จการรัฐสภา แปลว่ารัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้าน แต่ฝ่ายค้านที่เหลือต้องทำการตรวจสอบรัฐบาลได้ คือการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องร่างให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้โดยง่าย ก็จะเป็นไปตามหลัก collective Responsibility และเยอรมันไม่แยกการอภิปราย เหมือนของไทยเรา ยิ่งไม่แยกการอภิปราย ยิ่งสอดคล้องกับระบบรัฐสภา คือทำอย่างไรให้นิติบัญญัติตรวจสอบรัฐบาลโดยง่าย collective Responsibility strong Legislation (ฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็ง) การตรวจสอบซึ่งกันและกัน เท่ากับว่าประชาชนตรวจสอบรัฐบาลได้ง่าย เป็นหัวใจของระบบรัฐสภา การเมืองในระบบรัฐสภาไม่ต้องการ สิ่งที่เรียกว่า รัฐบาลอยู่ครบวาระ กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็งไม่ใช่ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง หากฝ่ายบริหารเข้มแข็ง ก็เป็นระบบประธานาธิบดี (strong president) ประธานาธิบดีเข้มแข็ง
การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอยู่ภายใต้กรอบ การปรับ ครม. ยุบสภา ลาออก กระทู้ที่ถาม ก็ต้องบังคับให้ตอบ ฝ่ายนิติบัญญัติอภิปรายได้ ฝ่ายบริหารก็ตอบโต้ได้ด้วยการยุบสภา การยุบสภาแม้ไม่มีความผิดก็ยุบได้ แม้เพียงยื่นอภิปรายก็สามารถยุบได้ มาตรา 108 เป็นการพกพร่อง ที่ไม่อาจยุบสภาได้เมื่อมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ แล้ว มีการกำหนดขั้นตอนยาก เช่น ต้องเสนอตัวนายก ไม่จำเป็นต้องระบุไว้เลย เพราะนายก เลือกโดยสภานิติบัญญัติ
หลักการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องถามประชาชน เพราะเขาไม่เข้าใจหลัก เชื่อมโยง นิติ บริหาร ตุลาการ อาจถามบางประเด็นประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิ เสรีภาพ หมายจับ หมายค้น อายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ความต้องการของประชาชน กับหลัก ทฤษฏี เป็นคนละเรื่องกัน




ระบบรัฐสภา ระบบ ปธน.
จากรูปวงกลม จะเห็นได้ว่าองค์กรอิสระ มาจากไหน ไม่มีที่มาจากประชาชน ไม่มีในระบบรัฐสภา มีแต่ในระบบประธานาธิบดี องค์กรอิสระช่วยเหลือประธานาธิบดี สภาครองเกส ตรวจสอบประธานาธิบดี เพราะอำนาจแยกออกจากกันทำให้ไม่สามารถตรวจสอบกันได้ จึงมีองค์กรอิสระ ดังนั้น องค์กรอิสระ จึงทำลายระบบรัฐสภา ระบบรัฐสภา ต้องการให้อำนาจทั้งสามมีความเกี่ยวข้องกัน และต้องมีฐานมาจากประชาชน จะเห็นได้ว่า ประชาชนเลือกนิติบัญญัติ นิติบัญญัติเลือกฝ่ายบริหาร
ระบบประธานาธิบดี แยกอำนาจนิติบัญญัติออกจากอำนาจฝ่ายบริหาร ไม่ต้องการให้การให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

สำหรับระบบการปกครองเมืองในประเทศไทย ใช้การปกครองในระบบรัฐสภา โดยประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหาร (นายกฯ และรัฐมนตรี) หมายความว่า รัฐบาลรับผิดชอบต่อรัฐสภา และรัฐสภารับผิดชอบต่อประชาชน ในระบบรัฐสภาที่เน้นให้ ฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็ง (Strong legislative)
องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
1.ข้อจำกัดอำนาจรัฐ
2.ข้อกำหนดว่าด้วยเสรีภาพ
3.หลักการแบ่งแยกอำนาจ : อำนาจนิติบัญญัติ (รัฐสภา) อำนาจบริหาร(คระรัฐมนตรี) อำนาจตุลาการ(ศาล) ซึ่งทั้ง 3 อำนาจ นั้นมีการผู้โยงกัน เชื่อมต่อกัน
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ประเทศที่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นประชาธิปไตย องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบหากไม่ครบขาดข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ประเทศอังกฤษ เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีตัวรัฐธรรมนูญ เพราะอังกฤษตัวรัฐธรรมนูญอยู่ในรูปแบบจารีตประเพณี ปฏิบัติสืบทอดมานาน ดังนั้นการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญจึงไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับระบบการเมืองเป็นคนละเรื่องกัน ระบบการเมืองเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ของอำนาจอธิปไตย ระบบการเมืองวางไว้ก่อนแล้ว ตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือรับใช้ระบบการเมืองเท่านั้น

หลักความสูงสุดของระบบรัฐสภา (Supremacy of Parliament) ดังนี้
1.รัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐสภาให้ความไว้วางใจ
2.รัฐบาลมาจากเสียงข้ามมาก
3.รัฐบาลและรัฐสภาต่างตอบโต้ซึ่งกันและกันได้
4.สมาชิกรัฐบาล มาจากสมาชิกรัฐสภา
5. รัฐบาลและรัฐสภาร่วมกันกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ

1.รัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐสภาให้ความไว้วางใจ
ม.158 ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ สส.จำนวน 1ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สส. มีสิทธิเข้าชื่อ เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
ม.159 ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล สส.จำนวน 1ใน 6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สส. มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ม.160 ในกรณีที่คระรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่า 2 ปี หาก สส.ฝ่ายค้าน มีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติตามมาตรา 158 และมาตรา 159 ให้ สส.ดังกล่าวมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่มีอยู่มีสิทธิเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ได้
ม.161 สว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ สว.ทั้งหมดทีมีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา ให้ ครม.แถลงข้อเท็จจริง โดยไม่มีการลงมติ
ม.271 สส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนบุคคลตาม มาตรา 270 ออกจากตำแหน่ง
สว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้วุฒิสภาถอนถอน สว.ออกจากตำแหน่งได้ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 20,000 คน
มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนบุคคล ตาม 270 นายก รมต. สส. สว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาล รธน. ที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อทุจริตต่อหน้าที่ .....ได้
2. รัฐบาลมาจากเสียงข้ามมาก
ม.171 คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน นายกฯ ต้องต้องเป็น สส.
ม.172 การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ต้องมี สส. 1ใน 5 รับรอง มติของสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ ต้องมีคะแนนเสียง มากกว่า กึ่งหนึ่ง ของจำนวน สส.ทั้งหมดที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3.รัฐบาลและรัฐสภาต่างตอบโต้ซึ่งกันและกันได้
ม.158 ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ สส.จำนวน 1ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของ สส. มีสิทธิเข้าชื่อ เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
ม.159 ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล สส.จำนวน 1ใน 6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สส. มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ม.160 ในกรณีที่คระรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่า 2 ปี หาก สส.ฝ่ายค้าน มีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติตามมาตรา 158 และมาตรา 159 ให้ สส.มากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่มีอยู่มีสิทธิเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ได้
ม.161 สว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ สว.ทั้งหมดทีมีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา ให้ ครม.แถลงข้อเท็จจริง โดยไม่มีการลงมติ
ม.271 สส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอน - สว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้วุฒิสภาถอนถอน สว.ออกจากตำแหน่งได้ - ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนบุคคล ตาม 270 นายก รมต. สส. สว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาล รธน. ที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อทุจริตต่อหน้าที่ .....ได้
ม.108 อำนาจในการยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกายุบสภากำหนดวันเลือกตั้งใหม่เป็นการทั่วไป ต้องเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 6 วัน นับแต่วันที่อายุสภาสิ้นสุดลง
4.สมาชิกรัฐบาลมาจากสมาชิกรัฐสภา
ม.88 สมาชิรัฐสภาประกอบด้วย สส. และ สว.
ม.171 คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน นายกฯ ต้องต้องเป็น สส.
5. รัฐบาลและรัฐสภาร่วมกันกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ
ม.168 ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ สส.ต้องพิจารณาให้เสร็จ ภายใน 105 วัน วุฒิสภาต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบภายใน 20 วัน เป็นการร่วมกันพิจารณา
ม.176 ครม.ที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
โดยไม่ต้องลงมติ ความไว้วางใจ
ม.179 นายกฯ ขอเปิดอภิปรายปัญหาความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยไม่ลงมติ
ม.190 - สนธิสัญญาระหว่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

การร่างรัฐธรรมนูญโดยหลักสากลทั่วไปจะต้องมีหลัก ๓ ประการ ดังนี้ กล่าวคือ
๑. หลักว่าด้วยข้อจำกัดอำนาจรัฐ
๒. หลักว่าด้วยข้อกำหนดสิทธิเสรีภาพ
๓. หลักว่าด้วยการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย





หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญประกอบด้วยหลัก ๙ ประการ ดังนี้
๑. รัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติที่ใช้ตีความในกฎหมายในศาล
ม.๒๗ - สิทธิเสรีภาพที่ รธน.รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโยคำวินิจฉัยของศาล รธน.ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ม.๙๑ ศาล รธน. วินิจฉัยสมาชิกภาพของ สว และ สส.
ม.๑๔๑ ศาล รธน. วินิจฉัย ร่าง พรบ.ประกอบ รธน. ชอบด้วย รธน. หรือไม่
ม.๒๑๕ ศาล รธน. จะไม่วินิจฉัยในเรื่องที่เคยวินิจฉัยมาแล้ว
ม.๒๓๓ ศาล รธน. วินิจฉับ กกต. ขาดคุณสมบัติ
ม.๒๔๐ กกต. พิจารณาสอบสวนการสรรหา สว. ชอบหรือไม่
๒. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
ม.๖ รธน. เป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของ กม. ใดขัดหรือแย้งบังคับใช้มิได้
ม. ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
๓. การละเมิดต่อรัฐธรรมนูญเป็นไปได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น
มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้
๔. รัฐธรรมนูญต้องมีความแตกต่างในที่มาและอำนาจต่างจากฎหมายอื่น
บทนำ ที่มาของการร่าง รธน.
ม.๒๙๔ เป็นการร่างโดยสภาร่าง รธน. และ คณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. และให้สภาร่างและ กรรมาธิการสิ้นสภาพไป
๕. การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต้องมี
ม.๑๔๑ - ร่าง พรบ.ประกอบ รธน. ชอบด้วย รธน.
ม.๑๔๗ - ร่าง พรบ.ที่ถูกยั้งไว้ กับร่าง พรบ. ที่เสนอใหม่มีหลักการเดียวกันหรือไม่
ม.๑๕๔ - ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของ ทั้ง ๒ สภาขัดหรือแย้ง รธน.หรือไม่
ม.๑๖๕ - การออกเสียงประชามติขัดหรือแย้ง รธน.หรือไม่
ม.๑๖๘ – ร่างพรบ.งบประมาณ และการใช้จ่ายเงิน สส. สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา ฝ่าฝืน วรรค 6 ทำให้ สส. สว. มีส่วนไม่ว่าตรง อ้อม เสนอให้สาล รธน.พิจารณาว่า ขัดหรือแย้ง รธน.หรือไม่
ม.185 การอนุมัติร่าง พรก.
ม.190 การทำสนธิสัญญากับนานาประเทศ
ม.233 กกต. ขาดคุณสมบัติ ม.240 การสรรหา สว.

๖. คำวินิจฉัยของศาลผูกพันทุกองค์กร
ม.27 สิทธิเสรีภาพที่ศาล รธน. วินิจฉัยผูกพันทุกองค์กร (รวมถึงหน่วยงานของรัฐ)
ม.216 คำวินิจฉัยของศาล รธน. ผูกพันทุกองค์กร
๗. รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
บทนำ ที่มาของการร่าง รธน.
ม.294 เป็นการร่างโดยสภาร่าง รธน. และ คณะกรรมาธิการยกร่าง รธน.
๘. การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา
ม.291 การแก้ไข รธน. ต้องมาจาก ครม. หรือ สส.ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕
หรือ สส. รวมกับ สว.ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ หรือประชนชน ๕๐,๐๐๐ คน
๙. ต้องมีระบบควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ม.141 เมื่อรัฐสภาเห็นชอบ ร่างพรบ.ประกอบ รธน. แล้ว ก่อนทูลเกล้าฯ ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ม.145 ร่าง พรบ.ที่รัฐสภาเห็นชอบแล้ว ก่อนนายกทูลเกล้า
(1) สส. สว. หรือทั้งสอง ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองภา เห็นว่าขัดแย้ง รธน หรือตราไม่ถูกต้อง ให้เสนอประธาน ...แล้วแต่กรรี ให้ประธานส่งความเห้น ไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
(2) หาก นายกรัฐมนตรี เห็นว่า พรบ ขัด รธน.หรือตราไม่ถูกต้อง ให้ส่งความเห็นไปยังศาล รธน.วินิจฉัย พร้อมแจ้งประธาน....
ม.๑๖๕ - การออกเสียงประชามติขัดหรือแย้ง รธน.หรือไม่
ม.๑๖๘ – ร่างพรบ.งบประมาณ และการใช้จ่ายเงิน สส. สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา ฝ่าฝืน วรรค 6 (ทำให้ สส. สว. มีส่วนไม่ว่าตรง อ้อม )เสนอให้สาล รธน.พิจารณาว่า ขัดหรือแย้ง รธน.หรือไม่
ม.๑๘๕ - การอนุมัติร่าง พรก.
ม.๒๑๒ - ศาล รธน. วินิจฉัยว่าบุคคลถูกละเมิดสิทธิจากฎหมายหรือไม่


บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา ดังนี้

1. มาตรา 158, 159, 160 การยุบสภาทำได้ยาก ห้ามมีการยุบสภาหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดูคู่กันกับมาตรา 108
2. มาตรา 108 ให้มีการเสนอชื่อนายกฯ ถ้าทำได้ยากก็ไม่สอดคล้องกับหลัก
(Collective Responsibility) การตรวจสอบฝ่ายบริหารต้องทำได้ง่าย การยุบสภาต้องทำได้ง่าย สภาไม่มีความผิดก็ยุบได้
การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แม้จะขอ
เปิดอภิปรายได้ง่ายขึ้นในแง่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนที่เข้าชื่อ (กรณีนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 ใน 5 รัฐมนตรี 1 ใน 6 และกรณีหลังจากคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว ฝ่ายค้านจำนวนเกิน 1 ใน 2 เข้าชื่อขอเปิดอภิปรายได้)
แต่ญัตติดังกล่าวเฉพาะเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จะต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแยกญัตติไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคลและทั้งคณะ ทำให้การขอเปิดอภิปรายยังเป็นไปได้ยากไม่สอดคล้องกับหลักข้อ 6 ในเรื่องการให้รัฐสภาและรัฐบาลตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจซึ่งกันและกัน (Collective Responsibility)
และเมื่อเสนอญัตติแล้วจะยุบสภาไม่ได้ ทำให้การยุบสภาได้ยาก
3. มาตรา 174 (6) รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติ และไมมีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(6)ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา แต่ไม่ห้ามบุคคลภายนอกเป็นรัฐมนตรี แม้จะดีกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งห้ามรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการแยกอำนาจนิติบัญญัติออกจากอำนาจบริหาร แต่ก็ไม่สอดคล้องกับหลักข้อ 1 ที่ว่าสมาชิกรัฐบาลต้องเป็นสมาชิกรัฐสภาในขณะเดียวกัน
(จะดีกว่าเดิมถ้า รัฐมนตรีต้องมาจาก สส.หรือ สว. เท่านั้น)
4. มาตรา 72 การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ น่าจะเป็นสิทธิ ไปก็ได้ไม่ไปก็ได้ การบังคับจะ
ให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เหตุผลเพียงต้องการให้ทุกคนไปเลือกตั้ง จะได้ซื้อเสียงไม่ไหว

5. มาตรา 115 คุณสมบัติ สส. สว. ไม่เกี่ยวอยู่นานเท่าไหร่ เห็นว่า 5 ปี นานเกินไป
6. มาตรา 161 การอภิปรายของ สว. ที่ไม่สอดคล้อง คือ ไม่รู้ สว.มีความคิดเห็น
อย่างไร เพราะไม่มีการลงมติ ถ้าให้ สว.อภิปรายไม่ไว้วางใจได้ นั้นจะสอดคล้องกับระบบรัฐสภา แต่มีประเด็นที่ สว.ไม่ได้สังกัดพรรค คนที่ไล่รัฐบาลได้ต้องสังกัดพรรค
7. มาตรา 162 วรรค 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองใน
การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นการให้อิสระสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่ามติพรรคซึ่งเป็นหัวใจของระบบรัฐสภา เป็นเหตุให้พรรคการเมืองควบคุมสมาชิกพรรคกระทำได้ยาก
8. มาตรา 177(2) การห้ามรัฐมนตรีที่เป็น สส.ลงคะแนน เวลาที่มีการอภิปรายไม่
ไว้วางใจไม่ถูกต้อง เพราะรัฐมนตรีก็เป็น สส.เหมือนกัน
9. มาตรา 270 เรื่องการถอดถอน คนที่มาจากการแต่งตั้ง ถอนถอนคนที่มาจาก
เลือกตั้งไม่ได้
10. มาตรา 171 วรรคสี่ การจำกัดวาระของนายกรัฐมนตรี จะดำรงตำแหน่ง
ติดต่อกันเกินกว่า 8 ปี ไม่ได้ เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในระบบประธานาธิบดีซึ่งประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง แต่ไม่สมควรมีบทบัญญัตินี้ในระบบรัฐสภาที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากสภาผู้แทนราษฎรให้ความไว้วางใจด้วยเสียงสนับสนุนเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเลือก จึงไม่สามารถจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้
11. มาตรา 266 , 268 การห้ามนักการเมืองแทรกแซง ข้าราชการประจำ กรณีนี้
ถ้านักการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำไม่ได้จะบริหารประเทศได้อย่างไร
12. มาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ ระดับชาติเข้าใจ
ได้ แต่ระดับท้องถิ่น อาจเกิดความเสียหายได้
13. มาตรา 111 ถึง 114 วุฒิสมาชิกที่มาจากการสรรหาหรือแต่งตั้ง เป็นการขัด
ต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยที่สมาชิกรัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง


14. มาตรา 176 คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบาย
ต่อรัฐสภา...โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ทำให้ไม่สอดคล้องกับหลักข้อ 5 ที่ว่ารัฐบาลและรัฐสภามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายร่วมกันในการบริหารประเทศ
15. มาตรา 104 วรรคสอง ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร จะมีการควบ
รวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ เป็นบทบัญญัติที่ทำลายระบบรัฐสภา เพราะบทบาทของพรรคการเมืองมีความสำคัญในระบบรัฐสภา
16. มาตรา 164, 270, 271, 274 การให้วุฒิสภาลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีได้ แม้จะถือว่าไม่ขัดกับระบบรัฐสภาในข้อที่ว่ารัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐสภาให้ความไว้วางใจ แต่รัฐสภาในที่นี้หมายถึงพรรคการเมืองในรัฐสภา วุฒิสภาที่จะดำเนินการถอดถอนได้จึงควรมาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ การถอดถอนเป็นกระบวนการในระบบประธานาธิบดี ไม่มีในระบบรัฐสภา เช่น ในอังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น
17. มาตรา 231 (5), 243, 246, 252 (3) องค์กรอิสระ เช่น กกต. , ปปช., คตง.
มีที่มาจากการสรรหา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และการให้องค์กรอิสระเข้าไปตรวจสอบการบริหารของรัฐบาลแทนรัฐสภา เป็นการทำลายระบบรัฐสภา

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา คือ

1. มาตรา 91 การให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง เพราะไม่สามารถดำเนินการหาสมาชิก หรือตั้งสาขาพรรคได้จำนวนและภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกัน หรือ 8 ปีติดต่อกัน เป็นการไม่สนับสนุนให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันการเมือง เพราะการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองไม่ได้จำกัดอยู่ในสภาเท่านั้น
2. มาตรา 93 และมาตรา 94 การยุบพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญ มาตรา 65 ให้บุคคลมีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง และการจัดตั้งก็ทำได้ง่ายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 8 แต่กลับมีบทบัญญัติมาตรา 93 และมาตรา 94 (5) ให้ยุบพรรคกระทำได้โดยง่ายและหลายสาเหตุ คือ การไม่แจ้งบัญชีรับ-จ่าย (มาตรา 42 วรรคสอง)หรือใช้จ่ายเงินสนับสนุนการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 82) รับบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย (มาตรา 21 วรรคหนึ่ง) ช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. หาเสียง (มาตรา 43) รับเงินบริจาคซึ่งเป็นเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 65) รับเงินมาเพื่อบ่อนทำลายประเทศ (มาตรา 66) รับเงินบริจาคจากนอกประเทศ (มาตรา 69) หรือกลั่นแกล้งพรรคอื่น (มาตรา 104) การยุบพรรคการเมืองน่าจะต้องมีสาเหตุที่รุนแรงตามมาตรา 94 (1) ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เท่านั้น
3. มาตรา 97 ห้ามกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบเพราะการไม่แจ้งบัญชีรับ-จ่าย (มาตรา 42 วรรคสอง) หรือใช้จ่ายเงินสนับสนุนการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 82) และฝ่าฝืนมาตรา 94 ตั้งพรรคการเมืองใหม่
4. มาตรา 98 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง กรณีพรรคการเมืองนั้นถูกยุบเพราะใช้จ่ายเงินสนับสนุนการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 82) และฝ่าฝืนมาตรา 94 เป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
5. มาตรา 99 ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างอายุของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ทำนองเดียวกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรคสอง) เป็นบทบัญญัติที่ทำลายระบบรัฐสภา
6. มาตรา 75 การจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมืองแก่พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 0.5 ของคะแนนเสียงของทุกพรรคการเมือง มาตรา 76 การจัดสรรเงินสนับสนุนสมทบเงินบริจาค และมาตรา 79 การลดหรือเลิกการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมืองแก่พรรคการเมืองที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. หรือไม่ได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการสนับสนุนการเมืองในสภาเท่านั้น จึงไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภาและทำลายประชาธิปไตย
7. มาตรา 10 วรรคสอง (2) ข้อบังคับพรรคการเมืองต้องไม่ขัดต่อความเป็นอิสระของ ส.ส. ทำให้พรรคการเมืองหมดความสำคัญ เป็นการทำลายพรรคการเมืองซึ่งเป็นหัวใจของระบบรัฐสภา

คำถาม จากการพิจารณา กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 กับกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91 , 92 , 93 , 94 การบัญญัติให้มีการยุบพรรคมากๆ ดีหรือไม่อย่างไร


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.strong Executive หลักฝ่ายบริหารเข้มแข็ง (ปธน.)
2.Separation of power หลักการแบ่งแยกอำนาจ (ปธน.)
3.Check and Balance การถ่วงดุลอำนาจ (รัฐสภา)
4.Judicial Review การเข้าตรวจสอบโดยตุลาการ
5.Collective Responsibility การตรวจสอบซึ่งกันและกัน(รัฐสภา)
6.Bipolar Distinction การหลอมรวมอำนาจ การผู้โยงอำนาจของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ (รัฐสภา)
7.Strong Legislation ฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็ง (รัฐสภา)
8.strong president ประธานาธิบดีเข้มแข็ง
9.Presidential System ระบบประธานาธิบดี
10.Parliamentary System ระบบรัฐสภา
11. Supremacy of the law หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ 9 ประการ
11. Supremacy of the Parliament หลักความสูงสุดของรัฐสภา 5 ประการ



อาจารย์สถาพร 18 มิถุนายน 2554

ปริญญาโท 74 คะแนนขึ้นไป B –ขึ้นไป
มหาบัณฑิต หมายถึง ผู้ดำรงตนด้วยปัญญา
1.ผู้รู้แบบต่อยอด
2.ผู้ถ่ายทอดได้
3.สามารถวิจัยได้
ม.1 ม.2 เป็นรูปแบบของรัฐ ระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
Social federal State รัฐสวัสดิการ เช่น การศึกษา เป็นหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
สิทธิ หมายถึง อำนาจ หรือประโยชน์ของบุคคลที่รองรับด้วยกฎหมาย ที่ประชาชนมีสิทธิเรียกร้องจากรัฐได้
ม.49 บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการศึกษา เรียกร้องจากรัฐได้ การศึกษาภาคบังคับเยอรมัน 12 ปี พรบ.การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
ม.72 บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นสิทธิ พัก....เบรก

ม.3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจในฐานะประมุข(มาตรา 2) ผ่านทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล หลักประชาธิปไตยต้องมีผู้รับผิดชอบคือ ผู้รับสนองราชโองการ หน่วยงานที่เอาอำนาจนั้นไปใช้ ต้องรับผิดชอบ
ม.68 การได้ไปซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบ เช่น การยึดอำนาจ ได้ไปทั้ง 3 อำนาจ ข้าพเจ้าคือผู้นำสูงสุด ข้าพเจ้าคือศาล ข้าพเจ้าเป็นกฎหมาย


ม.4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
ประธาน คือบุคคล
คุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของมนุษย์ ตั้งแต่ เกิด แม้สิ้นสภาพบุคคลไปแล้วก็ยังคุ้มครอง ม.326 , 327 ปพพ.
รัฐสภาเยอรมัน ออก กม.อนุญาตให้ทำแท้งได้ ศาลวินิจฉัยว่า
-มารดา เด็กถือเป็นอวัยวะของมารดาเองถือว่าทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
-เด็ก จะเกิดในอนาคตมาเป็นมนุษย์ในอนาคต ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญของเยอรมัน
เสรีภาพ ของบุคคล อิสระ ปราศจากการแทรกแซง
ม.65 การตั้งพรรคการเมือง เป็นเสรีภาพ
ม.101 การลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสิทธิ
ม.32 ชีวิต ร่างกาย เป็น ทั้งสิทธิ และเสรีภาพ
ความเสมอภาค (เพิ่ม ใน รธน.ปี 50)
ม.30 เสมอภาคกันทางกฎหมาย
วรรค 2 เรื่อง เพศ
วรคค 3 ลักษณะการเลือกปฏิบัติ เป็นการละเมิดต่อ...
การนำมาจาก เยอรมัน มีทั้งดี และเสีย เนื่องจากแตกต่างกันตามสภาพสังคม
ม.4 ได้รับความคุ้มครอง....จากรัฐ ดูมาตรา 26 องค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีตามมาตรา 4. มาตรา 28 วรรค 2 บุคคลผู้ถูกละเมิดสามารถใช้สิทธิทางศาล หรือยกเป็นข้อต่อสู้ทางคดีในศาลได้ พัก .....
การเลือกปฏิบัติ
มาตรา 30 วรรค 3 ,มาตรา 28 วรรค 2 และมาตรา 4
-การรับสมัครสอบของศาลปกครอง เป็นเจ้าพนักงานศาลปกครอง 3 ต้องจบนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เกียรตินิยม เท่านั้น นาย ก. ไปสมัคร ไม่ได้เกียรตินิยม....ฟ้องศาลปกครอง...ว่าเลือกปฏิบัติ มาตรา 30 วรรค 3 การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม....เรื่อง การศึกษาอบรม.......ศาลปกครองวินิจฉัยว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ นาย ก. ชนะ
-กพ.ประกาศรับสมัครคัดเลือกจบจากต่างประเทศ..นาย ก ฟ้องศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุด วินิจฉัย..เห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ
- สมมุติ อบต.รับสมัคร เกียรตินิยมทุกตำแหน่ง ขัดต่อมาตรา 30 วรรค 3 หรือไม่ ศาลปกครองวินิจฉัย...ว่า ขัดรัฐธรรมนูญ
USA ออกกฎหมาย บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีดื่มแอลกอฮอร์ไม่ได้ ศาลสูงวินิจฉัยว่า ขัดต่อความเสมอภาค รัฐธรรมนูญ
USA องค์กรมูลนิติที่รับบริจาค.... ต้องบริจาค 75 % ศาลสูงวินิจฉัยว่าขัด..เนื่องจากเพราะระเบียบขององค์กรมีอยู่แล้ว ไปบังคับเขาไม่ได้
ของไทย ม.100 บุคคลต้องห้ามใช้สิทธิ ในการเลือกตั้ง
USA ห้ามบุคคลที่ต้องโทษตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง ...ศาลสูงวินิจฉัยว่าไม่ขัด //////-ต้องโทษจำคุก ห้ามหมด ศาลสูงวินิจฉัย....ไม่ขัด ใช้บังคับได้

ของไทย พรบ.ชื่อสกุล หญิง ไม่ประสงค์จะใช้นามสกุลของชาย ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า...มาตรา 12 ขัดแย้งตาม มาตรา 30 หลักความเสมอภาค
1.เรื่องเพศ
2.จากโสดเมื่อสมรส กม.ไปเปลี่ยนเขา ขัดหลักเสมอภาค
การจับของขนส่ง...เทศกิจ ..จับบางคัน... ฟ้องบังคับคดีอย่างไร รถคันดังกล่าวไปเสียแล้ว เป็นอะไร ....การเลือกปฏิบัติ ต้องมองถึงการเยียวยาผู้ที่กระทำผิด..ไม่ทำให้ผู้ฟ้องพ้นผิด ไม่ใช่การละเว้นที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้อง
มาตรา 28 วรรค 2 ทฤษฎีหลักประกันสิทธิ ก่อให้เกิดสิทธิทางศาล เมื่อละเมิดแล้ว อาจไม่ฟ้องก็ได้
มาตรา 37 บุคคลย่อมมีเสรีภาพโดยบริบูรณ์ในการถือศาสนา ร้านอาหารเอกชน ติดป้ายห้ามพุทธเข้าร้าน ฟ้องได้หรือเปล่า ฟ้องศาลไหน
ภายใต้ มาตรา 28 วรรค 2 เฉพาะอำนาจรัฐเท่านั้น อำนาจไหนละเมิดได้ ....ทั้ง 3 อำนาจ
เจ้าอาวาสวัด ออกคำสั่ง ห้าม พระ ก เข้าร่วมหากมีฆราวาส พระ ก. ฟ้องศาลปกครอง ศาลปกครองวินิจฉัยว่า....เจ้าอาวาสเป็น จพง.ปกครอง แต่ไม่ได้ใช้อำนาจทางปกครอง แต่เป็นศาสนจักร ไม่ใช่อำนาจทางปกครอง พัก.....
เรื่อง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดู มาตรา 4 ประธาน บุคคล กริยา คุ้มครอง ศักด์ศรี เสรีภาพ เสมอภาพ
การตีความ....ขับเครื่องบินไปชนที่ อเมริกา
*****เยอรมัน ออกกฎหมาย ยิงเครื่องบินกรณีบังคับให้ลง ให้ทหารยิงเครื่องบินได้ มีพลังงานนิวเคลียมาก ศาลเยอรมันวินิจว่า กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ.... ความมั่นคงของรัฐต้องมาทีหลัง
***** โทษประหาร ศาลเยอรมันวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันยกเลิกโทษประหารปี 40 มนุษย์ไม่สิทธิฆ่ามนุษย์ด้วยกัน
*****ปัจจุบันเยอรมันอนุญาตให้เพศเดียวกันสมรสกันได้ จากนั้นไปแปลงเพศเป็นหญิงโดยการผ่าตัด ขอแก้ไขคำนำหน้านาม ...ศาลวินิจฉัยว่า ขัดต่อความเป็นมนุษย์ โดยอัตลักษณ์เป็นสตรี เป็นละเมิดต้องอนุญาตเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ผู้ร้อง
ม.37 ความเชื่อทางศาสนา
*****ศาลเยอรมัน นักศึกา ม.ปลาย เหลืออีกวิชาเดียวคือ Bio ต้องทดลองกับสัตว์ ไม่ สามารถฉีดยาทำให้กบตายไม่ได้ นักศึกษา ฟ้องศาลปกครอง ว่าไม่จำเป็นต้องทดลองกับสัตว์ เป็นการละเมิดความเชื่อทางศาสนา ประเด็น คือ
1. ความเชื่อบริบูรณ์
2.กับเสรีภาพทางวิชาการ ศาลเยอรมัน วินิจฉัย เสรีภาพทางวิชาการสูงกว่า ผู้ร้องแพ้
ปี 2002 ผู้ร้องโต้แย้งความเชื่อทางศาสนา ผูกผ้ายียาฟในการขายของในห้าง นายจ้างเลิกจ้างฟ้องศาลก็แพ้จึงไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ไปละเมิดเสรีภาพบริบูรณ์ทางศาสนาหรือไม่ ศาลเยอรมันวินิจฉัยว่าเป็นละเมิดนายจ้างแพ้
ปี 1998 ลูกจ้างเป็นชายเป็นอิสลาม นายจ้างย้ายไปอยู่แผนกขนเบียร์ ลูกจ้างขอย้ายแผนกปฏิเสธที่จะแบกเบียร์ อ้างว่าถูกครอบงำจากเบียร์ ถือว่าเป็นละเมิดหรือไม่ ศาลเยอรมัน วินิจฉัย ว่า เป็นละเมิด เนื่องจากเป็นความเชื่อโดยบริบูรณ์ มีแผนกอีกหลายตำแหน่ง ควรย้ายมีช่องทางทำงานอื่นได้
*******สหกรณ์แท็กซี่ โฆษณาความเชื่อทางศาสนานิกาย จนท.ปรับ สหกรณ์จึงไปฟ้องศาสนา ศาลเยอรมัน วินิจฉัย ว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เป็นละเมิด เนื่องจากการโฆษณาความเชื่อทางศาสนาไม่ใช่โฆษณา ดังกล่าวเป็นการสร้างความขัดแย้งทางสังคม ทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา ผู้ร้องต้องเอาป้ายลง
หลักวิธีพิจารณา ความ เสรีภาพความเชื่อในทางศาสนา
ศาลบังคับเฉพาะที่บังคับได้เท่านั้น พฤติกรรมภายนอก เท่านั้น
1.ส่วนที่เป็นดั้งเดิม โดยธรรมชาติ สิทธิพื้นฐาน เดินทาง มีอยู่โดยของมันเอง
2.เทคนิคกฎหมาย กำหนดขึ้นใหม่เช่น อำนาจของรัฐ
เยอรมัน
1.สิทธิพลเมืองของแต่รัฐเท่านั้น
2. สิทธิที่ตกแก่บุคคลทั่วไป เช่น สิทธิมนุษยชน
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และแยกส่วน หนึ่งส่วนสอง......
คนต่างด้าวได้รับความคุ้มครองตามหมวด 3 หรือไม่ เปรียบเทียบกับมาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งหมายรวมถึงคนต่างด้าวด้วย กฎหมายกับศาสนามีทั้งที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน เป็นความยุติธรรมแท้จริงที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์
ผิดศีลธรรมแต่นำมาเขียนเป็นกฎหมายให้ถูกต้องได้ เช่น การครอบครองปรปักษ์ เรื่องเวลาไม่อาจแย่งกรรมสิทธิ์ได้ แต่เราเขียนกฎหมายขัดกับศีลธรรม แต่ไม่ใช่ทุกๆๆเรื่องจะเป็นอย่างนั้น
รัฐธรรมนูญ มาตรา 39 และ40 สิทธิในกระบวนยุติธรรม ใช้กับคนต่างด้าวด้วยไม่ว่า ขบวนการสอบสวน คุ้มครองชั่วคราวได้ทุกคน ดังนั้น หมวด 3 ต้องแปลว่า หลักเป็นเสรีภาพของชนชาวไทย แต่มีการทับซ้อนที่เอาไปใช้กับคนต่างด้าวด้วย
หมวด 3 กับ มาตรา 3 นัยยะไม่ต่างกัน ชนชาวไทย กับปวงชนชาวไทย

สิทธิเสรีภาพทุกมาตรา32 /33 / 34
เคหสถาน เดินทาง ศาสนา การแสดงความคิดเห็น ลำดับชั้นทางรัฐธรรมนูญ หรือ คุ้มครองไม่เท่ากัน
มาตรา 37 เสรีภาพทางศาสนาสูงสุด 2 เดินทาง และ ความคิดเห็น 3 เคหสถาน(อยู่บ้าน)
-สูงสุดเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา ไม่เพิ่มเติม หรือแทรกแซง
-อันดับสอง 34 เดินทาง 45 การแสดงความคิดเห็น
- อันดับ 3 มาตรา 33 เคหสถาน (อยู่บ้าน)
การจำกัดเสรีภาพ มาตรา 37 ทำไม่ได้ รัฐไม่แทรกแซง รัฐต้องไม่สร้างลัทธิให้ประชาชนเชื่อ
มาตรา 29 การกำจัดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองรัฐทำไม่ได้ เว้นแต่เช่น มาตรา 33 เคหสถาน หมายค้น ภายใต้อำนาจ มาตรา 33 เคหสถาน การค้น ใช้ ป วิอาญา
บุคคล จะสละสิทธิเสรีภาพได้ หรือไม่ มาตรา 33 การค้นของตำรวจไม่มีหมาย เจ้าของบ้านสละได้ แต่อาจต้องทำเป็นหนังสือเป็นหลักฐาน
มาตรา 32 สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สละได้หรือไม่ คนที่มีปัญหาคือแพทย์ ถ้าสละได้แพทย์ไม่ต้องรับผิดทางอาญา
พรบ.สุขภาพ การสละชีวิตโดยชอบด้วยกฎหมาย
1.เพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตแต่แพทย์ต้องวินิจฉัยก่อนว่าจะตายเมื่อใด
2.เพื่อยุติการทรมานในการเจ็บป่วย แพทย์ไม่ต้องวินิจฉัย
อาญา ของเยอรมัน หญิงป่วยหนัก โทรหาแพทย์ไปรักษา ถึงนำส่งหญิงก็ต้องตาย เรียนคุณไม่ต้องส่งโรงพยาบาลต่อมาแพทย์ถูกฟ้อง ศาลสูง วินิจฉัย ว่า แพทย์ไม่ต้องรับผิด เหตุผล
1.แพทย์วินิจฉัยแล้ว
2. มีหนังสือ
3. นั่งดูจนวาระสุดท้าย
คำว่าบุคคล ใน รธน. หมายความรวมนิติบุคคลด้วย แต่ไม่ทุกมาตรา เอาอะไรเป็นเกณฑ์ ดูว่าการนั้นนิติบุคคลทำได้ ผู้ทรงสิทธิ ผู้ทรงเสรีภาพ
1. ละเมิดบุคคลอื่นไม่ได้ ม.28 ม.32 ก้าวล่วงบุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ส่วนรวม แต่ใช้แทนกันไม่ได้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์ ศีลธรรมอันดี ความสงบของเรียบร้อย โดยพื้นฐาน อำนาจตุลาการใช้ดุลยพินิจ เพราะศาลต้องตีความ เป็นอิสระจากผู้ร่างเมื่อใช้เป็นเวลานานๆ
ประโยชน์สาธารณะ เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนทั่วๆไป
ประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะที่
คดีปกครอง โดยปกติมีระยะเวลาการฟ้อง แต่หากเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่มีระยะเวลาการฟ้อง ม.52 วิ.ปกครอง หากมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมีเวลาการฟ้อง แต่หากศาลเห็นเอง หรือผู้ฟ้องเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และศาลรับฟ้อง ประเด็น คือ ศาลต้องเห็นตอนรับฟ้อง ขบวนพิจารณาจึงจะชอบ
*******ออกเกรดช้า นิติธรรมศาสตร์ เทอม 1 ไม่ออกแต่ตอน เทอม 8 ปรากฏว่าเกรด ได้เพียง 2.89 วิทยาลัยเพิกถอนสถานภาพ นักศึกษาฟ้องมหาวิทยาลัย ศาลวินิจฉัยว่า ไม่เพิกถอนคำสั่ง
1.ศาลไม่เพิกถอนคำสั่งของเนื่องจากยังไงก็ต้องตก ผลของเกรดไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
2.แต่การละเลย จะให้ค่าพาหนะ 10,000
3.ให้ค่าลงทะเบียนเรียนเพราะเป็นความผิดมหาวิทยาลัย แต่ไม่ให้ค่าหนังสือตำรา เนื่องจากหนังสือตกเป็นของนักศึกษา พัก....

การสอบ สอบใหญ่นำตำราเข้าไม่ได้ พรุ่งนี้ 20 คะแนน ข้อสอบวินิจฉัย อย่ากลัวข้อสอบ
ขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพ
ม 28 วรรค 2 เป็นปฏิปักษ์


ม 35 การละเมิดต่อ สิทธิ เกียรติยศ ชื่อเสียง
***** ยกเว้น..... ม 130 การประชุมของ สมาชิกรัฐสภา การละเมิดฟ้องร้องไม่ได้ไม่เกิดสิทธิในการฟ้องทางศาล เพราะเป็นประโยชน์สาธารณะ
***** ห้ามศาล.....ม 131 วรรค 2 วรรค 3 ห้ามศาลพิจารณาคดี เว้นแต่คดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดู ม 122 ผู้แทนของปวงชนชาวไทย มีประโยชน์สาธารณะอยู่ด้วย
2 การกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ไม่เป็นการปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ เหตุผล ก่อให้เกิดผล
เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ
ม 291 การเสนอไขเพิ่มเติมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ห้าม.... ดูผล
เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ
******พรรคการเมือง หาเสียง จะเลือกตั้งผู้ว่า ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ เหตุผล เพราะเป็นเพียงแนวคิด ไม่เปลี่ยนแปลงระบอบ
******หากได้รับเลือก จะเสนอแก้ไข รธน คุ้มครองสตรีมากกว่าผู้ชาย ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ เหตุผลเพราะ เป็นการเสนอแนวคิดทางการเมือง
******ม 269 นายก รมต จ พรรคจะขอแก้ไข การห้ามนายก เป็นหุ้นส่วน แก้ไขได้ เหตุผลเพราะว่ากฎหมาย รธน ไม่มีข้อห้าม ตรวจสอบทาง รธนไม่ได้
ม 68 เป็นการกระทำปฏิปักษ์ ต่อ รธน. ล้มล้างระบอบระบอบ ปชต.
ม 69 ให้สิทธิประชาชน ในการต่อต้านโดยสันติ ทำอย่างไรก็ได้ต้องสันติ






จากบทมาตรา ม 28วรรค 2 เมื่อถูกละเมิดจึงจะเกิดสิทธิทางศาล
การตรวจสอบอำนาจมหาชน ทั่วไป ศาล รธน. ศาลปกครอง
จากบทบัญญัติเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
มีคณะกรรมการ วินิจฉัย ตาม มาตรา 199
มาตรา 245 อนุ 1 ไปศาลรัฐธรรมนูญ
อนุ 2 ไปศาลปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่อยู่ในอำนาจ ศาลปกครองบอกว่าไม่อยู่ในอำนาจ จะส่งศาลรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่
*******มาตรา 199 เราไม่พบ ศาลรัฐธรรมนูญคำว่าศาล อื่นเป็นศาลในอาจเกิดขึ้นอนาคต ไม่รวม ศาล รธน. ที่จะส่งมาตาม 199 แล้วจะส่งไปไหนเมื่อส่งตาม 199 ไม่ได้ ศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจส่งศาลรัฐธรรมนูญ …
***** แล้วจะส่งไปไหน......ส่งไม่ได้ ที่ทำได้คือ ไม่รับฟ้อง....

องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่
เยอรมัน ใช้หลังสงครามโลก เราใช้ตั้งแต่ปี 40
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาจาก มาตรา 93 ของเยอรมัน
1.ทฤษฎี ในรูปแบบ บัญญัติใน รธน ถึงอำนาจหน้าที่ หรือ
2.เนื้อหา ใช้อำนาจรัฐ ตรวจสอบ ควบคุม ถ่วงดุลอำนาจ
กกต.มีบัญญัติใน รธน และมีอำนาจหน้าที่ กกต.ไม่ใช่องค์กรที่ใช้อำนาจของรัฐ
มาตรา 235 , 236 แต่ กกต.มีลักษณะควบคุม จึงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 258 สภาที่ปรึกษา มีอำนาจหน้าที่ แต่ไม่มีลักษณะ ตรวจสอบ ควบคุม ถ่วงดุล จึงไม่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีสภาพบังคับในทางปฏิบัติ พักก่อน.......



สภาที่ปรึกษา เป็นองค์กรอิสระ

การขัดแย้งอำนาจหน้าที่กันระหว่าง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาจาก มาตรา 93 ของเยอรมัน
ม.214 องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่ศาล ขัดแย้งกันในอำนาจหน้าที่ ให้ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่
******มีการฟ้องศาลปกครองเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ศาลปกครองสั่งให้ กกต.เลือกตั้งใหม่ กกต.สู้ว่าเป็นการก้าวล่วงอำนาจ กกต. มีปัญหาว่า เป็นการขัดแย้งขององค์กรตาม รธน.หรือไม่ ศาลปกครองมีอำนาจรับฟ้องหรือไม่ ศาล รธน.วินิจฉัยว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจรับฟ้อง เพราะเป็นการปฏิบัติตาม รธน.
ม.223 วรรค 1 การกระทำทางปกครอง ...เป็นอำนาจของศาลปกครอง ฟ้องศาลปกครอง
วรรค 2 ศาลปกครองไม่มีอำนาจ ในการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 239 วรรค 1 อำนาจ กกต. ใบเหลือง ใบแดง ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยเป็นที่สุด ใช้สิทธิ ตาม มาตรา 28 วรรค 2 ใช้สิทธิอย่างไร ถูกละเมิดที่จะได้รับแต่งตั้ง
มาตรา 239 วรรค 1 หากไม่สุดจริง แสดงว่าใช้สิทธิตาม มาตรา 28 วรรค 2 ได้ หาก สุดจริง ใช้สิทธิไม่ได้ มาตรา 239 เป็นการตรวจสอบคำวินิจฉัยว่าชอบหรือไม่ชอบ
******สรุป มาตรา 239 วรรค 1 ถือว่าสุด จริงๆ ไปต่อไม่ได้ อีกแล้ว ประชาชนฟ้องโดยตรงต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ ถือว่าขัดต่อสิทธิตาม มาตรา 28 วรรค 2 ขัดต่อหลักนิติรัฐ ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
หากไม่ประกาศ....ยืดไปเรื่อย...จะทำอย่างไร รอให้ใบเลืองใบ ใบแดง อำนาจตุลาการไม่สามารถตรวจสอบได้
วรรค 2 ถ้าประกาศแล้ว ให้ยื่นต่อศาลฎีกา
วรรค 3 ให้นำมาใช้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น ยื่นต่อ ศาลอุทธรณ์

มาตรา 223 อำนาจของศาลปกครอง
ประกาศ กกต.เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต. ผู้สมัครร้องว่าการแบ่งเขต ไม่ชอบเป็นการช่วยผู้สมัครบางคน ศาลปกครองมีอำนาจรับฟ้องหรือไม่ ศาลปกครองวินิจฉัยว่า ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นการใช้อำนาจปกครอง ตาม วรรค 1
อีกเรื่อง กกต.กลางมีคำสั่ง ให้ กกต.จังหวัด พ้นจากตำแหน่ง ฟ้องให้ศาลปกครองเพิกถอน คำสั่ง ศาลปกครองวินิจฉัยว่า เป็นการใช้อำนาจปกครองตาม 223 วรรค 1
เอาเกณฑ์อะไร แบ่งแยกว่าเป็น วรรค 1 หรือ วรรค 2
ระบบเยอรมัน วรรค 1 อำนาจต้องมีในรัฐธรรมนูญ
มาตรา 223 วรรค แรก สามารถบัญญัติซ้ำในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นอำนาจขององค์กร ตาม วรรค 2 เช่น ม.235 236 มีการบัญญัติซ้ำใน พรบ.ประกอบรัฐธรรมอีกครั้ง หลักของเยอรมัน ถือว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญถูกเปลี่ยนแปลง เป็นเทคนิคทางกฎหมาย เพราะแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก เป็นการยืนยันอำนาจนิติบัญญัติเปลี่ยนแปลงอำนาจดั้งเดิมตามรัฐธรรมนูญได้
ศาลรัฐธรรมนูญของเรา 52/2546 เราแปลไม่เหมือนเยอรมัน วินิจฉัยว่า ลักษณะยังเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ อาจารย์ไม่เห็นด้วย
ตัวอย่าง****** มาตรา 733 ปพพ.การบังคับจำนองได้ไม่ครบ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดอีก แต่เราเจ้าหนียังเขียนสัญญาให้บังคับได้อีก กฎหมายของเราอนุญาตให้ยกเว้นได้บางมาตรา หรือเปล่า อำนาจตุลาการไม่ใช้ตีความตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยหลักขัดต่อความสงบเรียบร้อย แต่วินิจฉัย มองถึงความยุติธรรม เป็นการสร้างความยุติธรรมที่แท้จริง สัญญาต้องเป็นสัญญา
ภายใต้หลักการแบ่งแยกอำนาจ แก้กฎหมายง่ายกว่า แก้รัฐธรรมนูญ จบ การบรรยาย วันนี้ พบกันพรุ่งนี้ เช้า บ่ายสอบ


มาตรา 223 อำนาจของศาลปกครอง
การกระทำทางปกครอง รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากหน่วยงาน ของรัฐ
มาตรา 108 การยุบสภา ทำให้ สส.เสียหาย ดูว่าศาลใดมีอำนาจตรวจสอบ
เป็นการกระทำทางรัฐบาล ตุลาการไม่สามารถตรวจสอบได้
ศาลปกครอง มีอำนาจกำหนดระยะเวลาปฏิบัติได้หรือไม่
การละเลย เกิดจากการประมาท ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แต่ประสงให้ทำให้เสร็จ
ละเว้น 157 บวก 59 ฟ้องให้ลงโทษทางอาญา
ตำรวจฟ้องคดีล่าช้า ฟ้องละเลยได้ สาลปกครองกำหนดระยะเวลาได้ หากไม่เสร็จ ส่งเรื่องให้หน่วยงานดำเนินการทางวินัยได้
ลืมถอนหมายจับ เป็นละเลย ฟ้องศาลปกครองได้
ละเมิด หรือกระทำผิดอย่างอื่น
เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ กระทำไปในอำนาจหน้าที่ ต้องเป็นการใช้อำนาจที่เหนือกว่า
หมอลืมกรรไกรไว้ในท้อง ไม่ใช่ละเมิด เป็นการบริการของรัฐ
สัญญาทางปกครอง เป็นข้อยกเว้นทางแพ่ง รัฐกับเอกชน รัฐกับรัฐ ธนาคารค้ำประกันสัญญาผู้รับเหมา สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาทางปกครอง
แต่ของเยอรมัน ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ให้ฟ้องศาลยุติธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ม.211 ศาลเห็นเอง หรือคู่ความ เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ต้องด้วยมาตรา 6
- ประกาศคระปฏิวัติ ถือว่า เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ด้วย
- ให้ศาลเป็นผู้ส่ง
ดูว่า ออกโดยนิติบัญญัติ เป็นอำนาจของศาล รธน. หากออกโดยฝ่ายบริหาร ไปศาลปกครอง
การที่ศาลยกกฎหมายที่ยกเลิกแล้ว ศาลปกครองไม่ส่ง เพราะ ไม่ต้องด้วยมาตรา 6
ศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่าขัด และยังพบอีกว่า ตราไม่ชอบด้วย ศาล รธน.ไม่อาจวินิจฉัยเลยไปได้เพราะ ไม่ต้องด้วยมาตรา 6
ผลของ มาตรา 211 คือใช้บังคับมิได้ ไม่อาจให้ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขได้ เพียงแต่ห้ามใช้เท่านั้น
ฝ่ายนิติบัญญัติออก กม.ที่ขัด นั้น ซ้ำได้อีกไหม
ศาลเยอรมันบอกว่า ได้เพราะ อำนาจอิสระต่อกัน แต่ยังคงใช้บังคับมิได้ ตาม 216 วรรค 5 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นเด็ดขาด ผูกพัน รัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอื่นของรัฐ
มาตรา 65 เสรีภาพในการจัดตั้งพรรค 15 คน
นายทะเบียน ปราน กกต ต้องจด ไม่จดให้ มาตรา 28 วรรค 2 ใช้สิทิทางศาลได้
ศาลไม่มีอำนาจสั่งให้เลือกตั้งใหม่
ม.56 บวก 68
ม.237 ยุบพรรคการเมือง
******************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น