ขออภัย

บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจากWebsiteต่างๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา



วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รศ.สถาพร ฯ วิชา LW 741 วันที่ 18 มิถุนายน 2554 โดยคุณภาณุ ขวัญนิมิตร

รศ.สถาพร ฯ วิชา LW 741
วันที่ 18 มิถุนายน 2554
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

คำบรรยายสรุป ตอน 2
มาตรา 1 ของเยอรมัน เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญของไทย มาตรา 4
ตัวอย่าง
กรณีตึกเวิร์ลเทรดของสหรัฐฯ ประเทศเยอรมันนำมาเป็นข้อวินิจฉัยออกกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง โดยเยอรมันมีโรงงานนิวเคลียร์อยู่เป็นจำนวนมาก ฝ่ายความมั่นคงนำมาเป็นข้ออ้างในการใช้บังคับกับเครื่องบิน ที่บินรุกล้ำน่านฟ้าเข้ามาในเยอรมัน โดยให้บินประกบเพื่อบังคับให้ลงได้ และหากขัดขืน มีสิทธิที่จะทำการยิงเพื่อให้ตกได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดต่อโรงงานนิวเคลียร์ เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญไทย ทาตรา 32 ที่ว่าบุคคลย่อมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการลงโทษตามคำพิพากษาของศาล เมื่อขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน วินิจฉัยว่า การออกกฎหมายของความมั่นคงนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับไม่ได้ แปลกลับว่า ความั่นคงของส่วนรวมมาทีหลัง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องมาก่อน
เทียบกับการลงโทษตามรัฐธรรมนูญของไทย มาตรา 32 ถือว่าการลงโทษประหารชีวิต สามารถกระทำได้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ของเยอรมัน ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก มนุษย์ไม่มีสิทธิฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง หนักจริงๆคือโทษจำคุกตลอกชีวิต
ตัวอย่าง
กรณีให้คนเพศเดียวกันสมรสกันได้ เช่นมีการแปลงเพศโดยการผ่าตัด แล้วไปยื่นต่อนายทะเบียนขอเปลี่ยนคำนำหน้านาม แต่ปรากฏว่า นายทะเบียนไม่ดำเนินการให้ จึงฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนเป็นการทำละเมิด ต้องอนุญาต ในเมื่อมีการอนุญาตให้ทำการสมรสกันได้ จึงควรที่จะเปลี่ยนคำนำหน้านามให้กับเขาด้วย (ม.28 วรรค2)
ตัวอย่าง กรณีความเชื่อทางศาสนา ม.37 ของรัฐธรรมนูญไทย
นักศึกษามัธยมปลายแห่งหนึ่ง อาจารย์ได้ทำการสอนวิชาโดยให้เอากบมาทำการฉีดยา แต่ตามลัทธิความเชื่อทางศาสนาของ นักศึกษาคนนี้ ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากขัดกับทางหลักการศาสนาของเขา เมื่อผลสอบออกมา เขาไม่ผ่านวิชานี้ จึงฟ้องศาล วินิจฉัยว่า เสรีภาพทางวิชาการสูงกว่า เด็กต้องทำการทดลองตามคำสั่งของอาจารย์ ( ข้อนี้ออกสอบย่อยแล้ว ตามข้อ ก)




ตัวอย่าง ม.37
พนักงานขายในห้างสรรพพสินค้าแห่งหนึ่ง หญิงต้องแต่งกายตามลัทธิความเชื่อทางศาสนาของตน โดยเอาผ้าโพกหัว ต่อมานายจ้างนำมาเป็นเหตุเลิกจ้าง ถามว่าเป็นการละเมิดหรือไม่ ตอบว่า เป็นการละเมิดเสรีภาพบริบูรณ์ต่อการนับถือศาสนา ตามมาตร 37 แห่งรัฐธรรมนูญไทย
ตัวอย่าง ม.37
ลูกจ้างชายนับถือศาสนาอิสลาม นายจ้างได้ย้ายให้ไปอยู่ในตำแหน่งแผนกขนเบียร์ ปรากฎว่าในการขนเบียร์ นั้นต้องต้องยกขึ้นเหนือศรีษะ ซึ่งถือว่าขัดกับทางศาสนาของตน แล้วต้องการให้นายจ้างย้ายไปอยู่ในตำแหน่งอื่น แต่นายจ้างปฏิเสธ จึงนำเรื่องฟ้องศาล วินิจฉัยว่า การกระทำของนายจ้างเป็นการละเมิด เนื่องจากยังมีแผนกอื่นอีกมาก ที่สามารถให้ลูกจ้างชายผู้นี้ทำได้และไม่กระทบต่อทางศาสนา
ตัวอย่าง ม.37
บริษัทสหกรณ์แท๊กซี่ รับโฆษณา ป้ายความเชื่อหรือคำสอนทางศาสนาหนึ่ง รัฐฯบอกว่าไม่สามารถกระทำได้ สหกรณ์ก็ฟ้องศาลว่า รัฐฯทำละเมิด วินิจฉัยว่า กรณีไม่เป็นละเมิดเนื่องจาก ในการโฆษณาดังกล่าวไม่ใช่การโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าทั่วไป แต่เป็นการโฆษณาที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความขัดแย้งขึ้นมาได้ ไม่ว่าในทางการเมืองหรือทางศาสนา เปรียบเทียบกับของไทย มาตรา 37 และมาตรา 45 การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในการโฆษณาจะกระทำมิได้ เว้นแต่ อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด 3 ว่าด้วย สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
เปรียบเทียบกับ มาตรา 3 ที่ว่าอำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย จะครอบคลุมถึงคนต่างด้าวด้วยหรือไม่ ตอบว่า มีความหมายที่คนต่างด้าวได้รับความคุ้มครองด้วย แต่ ไม่ทุกมาตรา เช่น มาตรา 39 มาตรา 40 ครอบคลุมถึงคนต่างด้าวด้วย สรุป
-สิทธิเสรีภาพของบุคคลภายในรัฐ คุ้มครองบุคคลภายในรัฐ
-สิทธิเสีรภาพพลเมืองที่อยู่ภายในรัฐ คุ้มครองบุคคลทุกคนที่อยู่ภายในรัฐ
เปรียบเทียบความสูงสุดของสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
1. สิทธิทางศาสนา ตามาตรา 37 (มีคำว่าบริบูรณ์) อยู่สูงสุด
2. สิทธิตามมาตรา 34 ว่าด้วยเรื่องการเดินทาง และตามมาตรา 45 ว่าด้วยการแสดงความคิดเห็น อยู่อันดับสอง
3. สิทธิอยู่ในบ้าน ตามาตรา 33 อยู่อันดับสุดท้าย



การสละสิทธิในร่างกาย ปัจจุบันทำได้ ตามมาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกาย มีคดี ตัวอย่าง
หญิงอายุ 80 ปี ป่วยหนัก ได้เรียกแพทย์ประจำตังไปพบ เมื่อแพทย์ไป พบว่าอาการอยู่ในระยะสุดท้าย และหญิงคนนี้ปฏิเสธที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาและได้เขียนหนังสือบอกว่าอย่านำตนไปโรงพยาบาล ถามว่าแพทย์คนนี้ ต้องรับผิดหรือไม่ วินิจฉัยว่า แพทย์ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากเหตุผล 3 ประการคือ
1. ผู้ป่วยคนนี้มีอาการซึ่งแพทย์วินิฉัยแล้วว่าอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว
2. มีหนังสือเขียนบอกไว้ ปฏิเสธการรักษา
3. แพทย์คนนี้ก็ได้นั่งเฝ้าดูอยู่ จนถึงวาระสุดท้ายของหญิงผู้นี้
คำว่า บุคคลตามรัฐธรรมนูญจะหมายรวมถึงนิติบุคคลด้วยหรือไม่ เช่น มาตรา 65 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเพื่อเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย โดยหลัก จะหมายถึงนิติบุคคลด้วย แต่ยกเว้นมาตรา 65 เรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง แต่ที่หมายถึงรวมถึงนิติบุคคลด้วย เช่น มาตรา 43 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ
ขอบเขตในการใช้สิทธิและเสรีภาพ
1. มาตรา 28 วรรค 2 แต่จะไปละเมิดต่อผู้อื่นไม่ได้ ตัวอย่างในคดีปกครอง
ระยะเวลาในการฟ้องในคดีทั่วไป มีกำหนดระยะเวลาไว้ แต่คดีที่เป็นประโยชน์สาธารณะ จะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดี จะฟ้องเมื่อใดก็ได้ แต่คดีที่เป็นประโยชน์ต่อส่วรวม จะมีเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดี แต่ ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความกล่าวอ้างก็สามารถฟ้องคดีโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา
2. การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 28 วรรค 1
3. มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ได้
องค์กรตามรัฐธรรมนูญของเยอรมัน
1.ภายใต้รูปแบบ เช่น หน้าที่
2.ภายใต้เนื้อหา ประกอบด้วย เป็นการใช้อำนาจสูงสุดของรัฐตรวจสอบได้ มีอำนาจควบคุม ต้องเป็นอิสระ เทียบเท่าองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ เปรียบเทียบกับของไทย เช่น อำนาจ กกต. ตามมาตรา 230 ปรากฏว่า กกต ไม่ใช่องค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ แต่มีลักษณะเป็นองค์กรที่ตรวจสอบ ควบคุม มีความเป็นอิสระ กกต จึงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และกรณีของ สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจฯตามาตรา 258 มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ไม่ใช่ควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จึงมิใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


วันที่ 19 มิถุนายน 2554
ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองไทยนำมาจากประเทศเยอรมัน
กรณีศึกษา มาตรา 306 การเกษียณอายุของผู้พิพากษา มีอายุ 70 ปี และบังคับใช้กับอัยการด้วยโดยอนุโลม เห็นว่า ควรเพิ่มแพทย์ และข้าราชการครูเข้าไปด้วย
กรณีสัญญาทางปกครอง ตัวอย่าง
มหาลัยจ้างผู้รับเหมาทำการก่อสร้างอาคาร แล้วผู้รับจ้างทำไม่เสร็จตามสัญญา มหาลัยจึงฟ้องผู้รับจ้างและผู้ค้ำประกัน กรณี ผู้ค้ำประกันต่อสู้ว่า ผู้ค้ำประกันไม่ใช่คู่สัญญาทางปกครอง มหาลัยฟ้องไม่ได้ ศาลวินิจฉัยว่า เป็นสัญญาทางปกครองแล้ว สัญญาค้ำประกันตกติดไปกับสัญญาประธาน หรือ
กรณีไม่รู้ว่าเป็นสัญญาทางปกครอง แล้วมาทำสัญญา สามารถอ้างได้หรือไม่ว่า ตนไม่รู้ว่าเป็นสัญญาทางปกครอง ตอบว่า อ้างไม่ได้ เนื่องจากมีปรากกฎในเนื้อหาอยู่แล้ว
กรณีของเยอรมัน สัญญาทางปกครอง ฟ้องศาลปกครอง แต่หากมีความรับผิดในทางแพ่งด้วย ต้องแยกไปฟ้องที่ศาลแพ่ง เฉพาะกรณีที่มีความเสียหาย เนื่องจากเป็นศาลที่มีความเชี่ยวชาญกว่า
กรณีศึกษา มาตรา 211 ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง
ศาลนำ พรบ.ที่ยกเลิกใช้บังคับแล้วมาตัดสินคดี ผู้เสียหายโต้แย้งศาล วินิจฉัยว่าไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก ไม่เข้า มาตรา 211 เพราะเป็นการโตแย้งเกี่ยวกับศาลที่พิจารณาคดีตามกฎหมายผิดฉบับเท่านั้น หากกรณีที่ศาลเห็นว่าคู่ความโต้แย้งมาถูกต้องแล้ว ศาลจะกำหนดเลยไปว่าการออกกฎนั้นไม่ชอบได้หรือไม่ ตอบว่า ไม่ได้ เนื่องจากมาตรา 211 ให้ศาลพิจารณาเพียงอย่างเดียวว่าต้องด้วย มาตรา 6 หรือไม่เท่านั้น จะเลยไปใช้อำนาจสั่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติไปแก้ไขไม่ได้
รัฐสภา
- สส. ไม่ต้องจบปริญญาตรี ตามมาตรา 101
- กรณีมาตรา 65 รวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมือง หากนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่รับ ถือเป็นละเมิด ม.28 วรรค 2 ฟ้องคดีต่อศาลได้ (ตาม ม.65 ลำพังเพียงคนเดียวจะไม่ได้รบความคุ้มครอง ต้อง 15 ขึ้นไป)
ตัวอย่าง
พรรคการเมืองอยู่ในระหว่างยื่นคำร้องให้ยุบพรรคการเมืองต่อมา ธนาคารแจ้งยกเลิกบัญชีของพรรคการเมืองนั้น พรรคจึงฟ้องศาลว่ากระทำไม่ชอบ วินิจฉัยว่า การบอกเลิกของธนาคารไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยคดีของพรรคการเมือง จะบอกเลิกไม่ได้
ตัวอย่าง ม.237 เทียบเคียงกับของเยอรมัน
การยุบพรรคการเมืองและมีการให้ สส.สิ้นสภาพไป ด้วย ถือว่า ชอบแล้วใช้บังคับได้ เหตุผล เมื่อมีการยุบพรรคการเมือง ต้องมีการตัดตัวแทนที่เคลื่อนไหวในสภาออกให้หมด เทียบเคียงกับคดีของไทย ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคเนื่องจากจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
การเข้าสู่ สส.ของเยอรมัน ประกอบด้วย
1. เป็นการเลือกตั้งทั่วไป คือ ต้องใช้สิทธิได้
2. เป็นการเลือกตั้งโดยตรง คือ ต้องไม่ผ่านตัวแทน
3. ต้องเป็นอิสระ คือปราศจากการแทรกแซง
4. โดยลับ คือห้ามมิให้ใครรู้
5. เสมอภาค คือคะแนนเสียงที่ลงไปต้องเท่ากัน
ของไทยมี 2 องค์ประกอบคือ
1. โดยตรง
2. โดยลับ
ตัวอย่าง
กกต ออกประกาศหันกล่องออกนอกคูหา การเลือกตั้ง ศาลวินิจฉัยว่า
- ให้ยกเลิก กฎ ประกาศดังกล่าว
- ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
- ขอให้มีการเลือกตั้งใหม่ ศาลไม่มีอำนาจสั่ง เนื่องจากเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
มาตรา 48 ของเยอรมัน สิทธิในการลาพักเพื่อเตรียมการหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ดังนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงไม่ต้องลาออก แต่ให้ลาพักแทน แต่ของไทย ต้องออกเลย หลักของเยอรมันยึดถือความเสมอภาค สิทธิของคนมีอยู่แค่ไหนก็มีอยู่เช่นเดิม สมมุติว่า ในกรณีที่ได้รับการเลือกตั้ง ก็ไม่ต้องออกจากตำแหน่งเดิม แต่ให้โอนตำแหน่งไปพร้อมกับอายุการทำงาน และมีสิทธิกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมได้อีกหากไม่ได้รับการเลือกตั้ง หลักสำคัญ คือ รัฐต้องคงไว้ในเรื่องความมั่นคงแห่งสิทธิแต่ขแงไทยไม่ได้
มาตรา 18 ของเยอรมัน การกระทำที่เป็นปฏิ ปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ เทียบเคียงกับของไทย ม.65 วรรค 3 และม. 68




วิชา LW741 กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ผศ.ดร.สถาพร
กรณีศึกษาการใช้ดุลยพินิจ เทียบกัน
กรณี มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
มาตรา 204 ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ที่มา
- ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนสามคน
- ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง จำนวนสองคน
ในระบบเยอรมัน การเข้าสู่ตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบ่งเป็น 2 กรณี
คือ มาจากสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 8 คน และ วุฒิสภา จำนวน 8 คน เป็นการ
อธิบายถึงการเชื่อมโยงกับอำนาจประชาชน ว่าอำนาจที่รัฐนำมาใช้ต้องอธิบายถึงความสำคัญอันเชื่อมโยงกับอำนาจประชาชนได้ทุกอำนาจ ดังนั้นกระบวนการการเข้าสู่ตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน จึงอธิบายได้ว่า ผู้เลือกจริงๆ คือ ประชาชน เพราะทั้งสองสภาคือตัวแทนของประชาชน
กรณีของไทย ถามว่าการ กกต. และ ศาลรัฐธรรมนูญ วุฒิสภามีอำนาจยับยั้งได้หรือไม่ เพราะเนื่องจากหากเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดต้องมีผู้รับผิดชอบ คือผู้รับสนองราชโองการ แต่ พระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง ตามมาตรา 8
ในกรณีของ กกต. วุฒิสภามีอำนาจที่จะไม่เสนอตามวิธีการสรรหาขึ้นไปก็ได้ แต่ในส่วนของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั้น วุฒิสภาไม่มีอำนาจยับยั้งต้องเสนออย่างเดียว เนื่องจาก ได้ผ่านการคัดเลือกมีการสรรหาจากองค์กรของศาลยุติธรรมแล้ว จึงต้องเสนอ




อย่างเดียว ซึ่งรวมไปถึงศาลปกครองด้วย (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ) กรณีนี้ อ.สถาพร ไม่เห็นด้วย

ตัวอย่าง
การเปิดรับสมัครสอบของศาลปกครอง กำหนดต้องได้เกียรตินิยม ผู้ร้องฟ้องศาล วินิจฉัยว่า ตามบทบัญญัติ มาตรา 4 ภายใต้คำว่า ความเสมอภาค ย่อมได้รับกาคุ้มครอง ซึ่งขายด้วยมาตรา 30 วรรค 3เสมอภาค ในกฎหมาย ถามว่าการที่เอาการศึกษามาเป็นเกณฑ์คือต้องได้เกียรตินิยม กรณีเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยเอาเหตุผลทางการศึกษามาพิจารณาก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นละเมิดตามมาตรา 28 วรรค 2 ศาลปกครองกลางถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต้องถูกเพิกถอน
ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยรัยสมัครอาจารย์ โดยกำหนดว่าต้องจบเกียรตินิยมนิติศาสตร์ วินิจฉัยว่า ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เนื่องจาก อาจารย์มหาวิทยาลัย อาจจะต้องมีการไปศึกษาต่อซึ่งมีเกรดเป็นตัวกำหนด และ ตำแหน่งวิชาชีพในฐานะครูบาอาจารย์ต้องเป็นคนที่มีความรู้ในศาสตร์นั้น ไม่เป็นละเมิด
ตัวอย่าง
กพ.กำหนดบุคคลที่จบปริญญาตรีเกียรตินิยมจากต่างประเทสให้ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่ต้องสอบ ศาลปกครองวินิจฉัยว่า ขัดต่อหลักความเสมอภาค กระทำไม่ได้ ต้องเพิกถอนประกาศดังกล่าว เหตุผล การสอบคัดเลือกต้องไปสอบ แต่คำว่าคัดเลือกมีกระบวนการลักษณะพิเศษซึ่งแตกต่างจาการสอบคัดเลือก โดยเพียงได้วุฒิการศึกษา ตรงนี้ ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ขัดต่อหลัก ความเสมอภาค






ความแตกต่างของละเลยกับละเว้น
ละเว้น ตาม ปอ. มาตรา 157 ต้องดู ปอ.มาตรา59 ในเรื่องเจตนาเป็นองค์ประกอบความผิด ต้องการให้ผู้ถูกฟ้องได้รับโทษ แต่ในกรณีของ ละเลย นั้นไม่จำเป็น อาจจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องการให้ผู้ถูกฟ้องได้รับโทษ เพียงแค่ให้ดำเนินการ
แก้ไขสิ่งที่ตนละเลยให้แล้วเสร็จเพื่อประโยชน์ประชาชน
ตัวอย่าง
ในกรณีของพนักงานสอบสวนลือถอนหมายจับ คดีความผิดอันยอมความได้ มีการออกหมายเรียกแล้วไม่ยอมมา ต่อมามีการออกหมายจับ ผู้เสียหายกับผู้ต้องหาไปยอมความกัน ถามว่าคดีในลักษณะนี้ เป็นคดีปกครองหรือเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และสามารถนำคดีไปฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่ ศาลปกครองพิจารณาแล้ว วินิจฉัยว่า กรณีถือเป็นการละเลยทางปกครอง ตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง ไม่ใช่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพียงอย่างเดียว แต่มีเรื่องในทางปกครองประกอบอยู่ด้วย
คำถาม สำหรับศาลรัฐธรรมนูญถ้าฝ่ายนิติบัญญัติบัญญัตินอกรัฐธรรมนูญ ผลถือว่าใช้บังคับได้หรือไม่ ถ้าเป็นศาลต้องรับฟ้องหรือไม่
คำตอบ ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเยอรมัน อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญโดยหลักแล้วจะถูกบัญญัติและตราไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น จะไม่มีบัญญัตินอกรัฐธรรมนูญ แต่ของไทยมีการบัญยัตินอกรัฐธรรมนูญ เช่น พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ม 12 ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้ใช้เสรีภาพ รธน.ม.65 ใช้ไปแล้วปรากฏว่าใช้ไม่ได้คือมีการละเมิดตาม ม.28 วรรคสอง บุคคลดังกล่าวสามารถที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ สิทธิทางศาลในกรณีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ พรบ.ป.รธน.ว่าด้วยพรรคการเมือง ม.12 คือศาล รธน.เป็นบทบัญญัติอำนาจศาล รธน.ที่อยู่นอก รธน. คือมีการบัญญัติหลังมีการประกาศบังคับใช้ รธน.แล้ว
คำตอบ ต้องรับฟ้องไว้พิจารณา เหตุผล



-เขตอำนาจศาล รธน.ของไทย ไม่จำเป็นต้องัญญัติหรือตามไว้ใน รธน.เสมอไป แสดงให้เห็นว่าเขตอำนาจศาล รธน.อาจจะอยู่นอก รธน.ได้ ดังนั้น ถ้ามีการบัญญัติเขตอำนาจศาล รธน.ใหม่ ก็สามารถมีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราไว้
-อำนาจนิติบัญญัตินั้น สามารถที่จะขยายเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญได้
เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา
ในกรณีที่มีการฟ้อง สส.ในคดีอาญาไม่ว่าจะฟ้องในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นไม่ได้ รวมถึงทุศาลด้วยหรือไม่ ตาม รธน. ม.277 วรรคท้าย ม.131 เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา ในกรณีดังกล่าวนี้ใช้บังคับไม่ได้กับศาลแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สรุปกลับมา คือ คดีอาญาตาม ม.131 ไม่รวมถึงคดีอาญาตาม ม.277 วรรคท้าย ศาลตาม ม.131 นั้นไม่รวมถึงศาลแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงฯ สรุป ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาฯ นั้น พิจารณาในระหว่างสมัยประชุมนั้นสามารถกระทำได้ การกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถ้าพิจารณาเหตุผล สาระสำคัญคือมีเรื่องประโยชน์สาธารณะ เพราะคดีประเภทดังกล่าวนั้นเป็นคดีพิเศษเฉพาะ ไม่ใช่คดีปกติทั่วไป ลำดับชั้นองค์คณะที่มาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญการอย่างดี
มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์สาธารณะ
อธิบายโดยหลักการไปละเมิดเขาไม่ได้ รธน.ห้ามไว้ แต่เมื่อไปดูว่า เว้นแต่ ลักษณะข้อยกเว้นที่กระทำได้ กรณีที่เป็นประโยชน์สาธารณะ แสดงว่ามีการพิจารณาแล้ว เรื่องดังกล่าวเป็นประโยชน์สาธารณะ จึงเข้าข้อยกเว้นที่จะกระทำละเมิดได้
ในส่วนของ กม.มหาชนถ้าฟ้องคดีที่เป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งระยะเวลาการฟ้องพ้นกำหนด 90วัน ตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง มีอำนาจรับฟ้องหรือไม่ คำตอบ ตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง ม.52 การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้ากรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลปกครองรับคดีนั้นไว้พิจารณาก็ได้ แสดงว่า ประโยชน์ส่วนรวม


ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล แต่ถ้าเป็นประโยชน์สาธารณะ ตุลาการไม่มีอำนาจใช้ดุลยพินิจ ต้องรับฟ้องไว้พิจารณาอย่างเดียว คำว่า ในกรณีศาลมีดุลยพินิจ ศาลต้องเห็นก่อนประทับฟ้อง
สรุปกรณีเป็นประโยชน์สาธารณะ ศาลมีอำนาจส่งเรื่องให้ศาล รธน. วินิจฉัยได้เลย แม้จะยังไม่ได้สั่งรับฟ้องไว้ก็ตาม ประโยชน์สาธารณะนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลทั่วๆไป แต่ถ้าเป็นประโยชน์ส่วนรวมโดยทั่วไปคือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด เช่นประโยชน์ต่อ สนง.ตำรวจแห่งชาติ
ตามมาตรา 101 สิทธิตาม รธน. สละได้หรือไม่ เช่น นาย ก ลงสมัครรับเลือกตั้ง ต่อมาหลังจากได้เบอร์หาเสียงแล้ว ขอสละสิทธิโดยการถอนตัว ดังนี้ ตามมาตรนี้ ใช้แล้วถอนไม่ได้ คือจะไปถอนตัวออกจากการลงสมัครเลือกตั้งไม่ได้ เหตุผลคือเรื่องประโยชน์สาธารณะ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคลตามมาตรานี้ คือประชาชนในเขตเลือกตั้ง ถ้าหากใครใช้ มาตรา 101 นี้แล้วต้องผูกพันกับประโยชน์สาธารณะ ทั้งเป็นการปรามผู้ใช้ คิดให้ดีก่อนใช้สิทธิ และสิทธิสมัครรับเลือกตั้งใช้ไปแล้ว ไปเกี่ยวพันกับประโยชน์อื่น ที่มิใช่ประโยชน์เฉพาะตน
กรณีเสรีภาพในเคหสถานสามารถสละได้หรือไม่ มีคำวินิจฉัยไว้ว่า เสรีภาพในเคหสถานสละได้เช่นเดียวกัน เหมือนกับเยอรมันและฝรั่งเศส แต่อำนาจในการสละของบุคคลนั้นเป็นเพียงหนึ่งของบุคคลที่สละเสรีภาพที่ตนมีตาม รธน. เท่านั้น ฉะนั้นบนพื้นฐานของอำนาจเอกชนที่มีเสรีภาพและสละเสรีภาพจะไปเทียบกับ การใช้อำนาจตุลาการโดยศาลไม่ได้ มิฉะนั้นต้องแปลความว่าการค้นที่ไม่มีหมาย ประชาชนสละเทียบเท่ากับหมายจับของศาลก็จะทำให้ลักษณะการใช้อนาจตุลาการในทางมหาชนหรือทางวิชาการดูแล้วไม่ใช่การใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ สรุปว่า สิทธิ และเสรีภาพที่มีการบัญญัติหรือตราไว้ ใน รธน. ฉบับนี้ สละได้ แต่ไม่ทุกมาตรา ตัวอย่างที่สละไม่ได้ คือ มาตรา 101 เป็นต้น
ตัวอย่างคดีศาลปกครอง
สนง.ปราบปรามและฟอกเงิน ออกคำสั่งอายัดธุรกรรมทางการเงินเจ้าของหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ สามคนนี้ก็อทธรณ์ สนง.ปปง.ก็ยังยืนยันในคำสั่งเดิม สามคนนี้จึง



ฟ้องต่อศาลปกครอง ให้เพิกถอนคำสั่ง สนง.ปปง.เห็นว่าตนจะแพ้คดี จึงออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่พิพาทในศาลปกครอง คำสั่งเดิมถูกยกเลิกเท่ากับวัตถุข้อพิพาทในคดีไม่มี หลังจากนั้นปรากฏว่า ศาลปกครองได้สั่งจำหน่ายคดี และวินิจฉัยเลยไปว่าคำสั่งของ ปปง.ที่ออกมานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยที่ ปปง.ไม่มีความประสงค์จะให้ศาลสั่ง จึงนำมาเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า
1.ศาลปกครองพิพากษาเกินคำขอหรือไม่
2.ถ้าท่านบอกว่าเกิน ในระบบไต่สวนอนุญาตให้ศาลพิพากษาเกินคำขอได้
ปรากฏว่า ปปง.ฟ้องตุลาการศาลปกครอง อ้างว่าพิพากษาเกินคำขอ ศาลยุติธรรม ที่รับฟ้อง วินิจฉัยว่า การที่ ปปง.นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตุลาการศาลปกครองในเรื่องละเมิด เป็นคดีธรรมดา เห็นว่าคำสั่งของ ตุลาการศาลปกครองนั้นมิได้ทำให้ ปปง.เสียหายเพราะเป็นเรื่องที่ ตุลาการฯใช้ดุลยพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบอำนาจหน้าที่ จึงไม่เป็นละเมิด ตาม ปพพ.ม.420 ซึ่งเมื่อพิจารณาว่า พิพากษาเกินคำขอหรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วในทางหลักกฎหมายมหาชนศาลปกครองไม่ได้วินิจฉัยเกินคำขอเพราะปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจ
ตามหลักทั่วไป ไม่ว่าศาลไหนห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอ แปลความกลับไป ม.28 วรรค 2 การพิจารณาคดีของศาลทั้งในระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน จะพิพากษาเกินคำขอไม่ได้ เว้นแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสามารถยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งเกินคำขอก็ได้
มาตรา 28 วรรค 1 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้ เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รธน. หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ รธน.นี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่ง รธน.นี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
มาตรา 6 ตัวบทใช้คำว่า ขัดหรือแย้ง
มาตรา 245 (1) ตัวบทใช้คำว่า มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รธน.



มาตรา 28 วรรค 1 ตัวบทใช้คำว่า ปฏิปักษ์
ตัวอย่าง คดี ปฏิปักษ์
พระภิกษุ ก ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ต่อมาสึกมาเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่นายอำเภอปฏิเสธ อ้างว่าไม่ได้แจ้ง เมื่อพิจารณาในทางกฎหมาย รธน. พระภิกษุดังกล่าวในขณะที่ดำรงสมณะเพศนั้นมีสิทธในการเลือกตั้ง มีสิทธิปกติไม่ได้เสียสิทธิ เพียงแต่ รธน.ห้ามมิให้ไปใช้สิทธิหรือห้ามมิให้ไปทำหน้าที่ตาม ม.72 นั่นเอง สรุป เมื่อสิทธิยังมีก็ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ การไม่ไปใช้สิทธินั้นจึงไม่ต้องไปแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิแต่อย่างใด
วิเคราะห์การกระทำที่เข้าองค์ประกอบ เป็นปฏิปักษ์ ตาม ม.28 วรรค 1 ประกอบด้วย
1.การกระทำนั้นกระทำไปแล้วมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจากราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวแล้วเขาไปแบ่งแยก
2.การกระทำนั้นกระทำไปแล้วมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดังนั้น การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ไปแจ้งเหตุไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลง รธน. ม.1 , 2 จึงไม่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รธน. ตาม มง28
กรณีการกล่าวปราศรัยหาเสียง ว่าในการปกครองส่วนภูมิภาคผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการเสนอแนวคิดนโยบายทางการเมืองของผู้สมัคร ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รธน.แต่ถ้าเชิญชวนให้ ปชช.ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รธน.
มีสาระสำคัญที่ตามมาอีก ตาม ม.1 และ ม.2 เช่น การแก้ไขเพิ่มเติม รธน.ตาม ม.291 หรือม.269 นายกฯต้องไม่เป็นหุ้นส่วนใน หจก. ต่อมามีการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว สมมติฐานในการพิจารณา
1.แก้ไปแล้วเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่ พิจารณาแล้ว ไม่เป็น ผู้ได้รับประโยชน์คือ คณะรัฐมนตรี




2.ถ้าเขาเสนอญัตติ เสนอได้หรือไม่
พิจารณาแล้วการแก้ไข รธน.นั้นกระทำได้ในทุกกรณี เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นเสนอยัตติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รธน.กระทำไม่ได้ ห้ามเฉพาะแก้แล้วมีลักษณะแก้ไข ม.1 กับ ม.2 สรุปแปลความกลับมา ในกรณีดังกล่าวนี้ คณะรัฐมนตรีจึงสามารถที่จะเสนอญัตติเพื่อที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รธน.ม.269 ได้ แม้การแก้ไขนั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะของประเทศก็ตาม แต่เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มคณะรัฐมนตรี การแก้ดังกล่าวนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อ กม.รธน. สามารถกระทำได้
ศาลปกครอง
รูปแบบศาลปกครองไทย นำรูปแบบศาลปกครองเยอรมันมาใช้ ไม่ใช่รูปแบบศาลปกครองฝรั่งเศส การเข้าสู่อำนาจของตุลาการศาลปกครองไทย เป็นการนำรูปแบบของฝรั่งเศสมาใช้ คือตุลาการศาลปกครองฝรั่งเสสและไทย ไม่จำเป็นต้องจบนิติศาตร์หรือนักกฎหมาย ซึ่งระบบเยอรมันต้องเป็นนักกฎหมายทั้งหมด
ตัวอย่างคดีปกครอง
กรณียุบสภา ของฝ่ายบริหารวินิจฉัยคดีที่ 3/2546 อำนาจตุลาการไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบ ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลว่า กรณีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจ ไม่ใช่การกระทำในทางปกครอง ที่ศาลปกครองจะอาศัย ม.223 เข้าไปตรวจสอบอำนาจของฝ่ายบริหารได้
ศาล รธน.ก็ไม่มีอำนาจ มีเหตุผลว่า การใช้อำนาจยุบสภา ฝ่ายบริหารอาศัยอำนาจ ตาม รธน. ม.108 ประกอบ ม.187 ตราเป็น พรฏ. แปลความในหลักการทางทฤษฎีใน รธน.หรือกฎหมามหาชน ลักษณะดังกล่าวนี้ คือการออก พรฏ.ยุบสภาผู้แทนฯของฝ่ายบริหารนั้น เป็นอำนาจอิสระของฝ่ายบริหาร อำนาจตุลาการเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ภายใต้หลักการแบ่งแยกอำนาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น