ขออภัย

บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจากWebsiteต่างๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Lw 741 สรุปคำบรรยายของอาจารย์พัฒนะ เรือนใจดี 29 พฤศภาคม 2554

สรุปคำบรรยายของ  รศ.พัฒนะ  เรือนใจดี 
วันที่  ๒๙  พฤษภาคม  ๒๕๕๔
โดย  นางสาวศุภรัตน์  ศรีนฤมล
สรุปการให้คะแนนของรศ.พัฒนะ     คือ
๑.     การเข้าเรียน                             คะแนน
๒.    สอบย่อย                        ๑๐          คะแนน
๓.    รายงาน                          ๑๕         คะแนน
๔.    สอบไล่                          ๒๐         คะแนน
รวม                        ๕๐          คะแนน
หัวข้อรายงาน
๑.                 รัฐธรรมนูญ  ๒๕๕๐  ให้หาเลขมาตราที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
๒.                พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยพรรคการเมือง  ๒๕๕๐  หาเลขมาตราที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา  คือเลขมาตราที่ทำลายพรรคการเมือง  เช่นการยุบพรรค  การรวมพรรค  การดำเนินกิจกรรมของพรรค  การจัดสรรเงินของกกต.  การบริจาค
๓.                พระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ๒๕๕๐  เนื่องมาจากมาตรา  ๒๓๙  ที่ว่าต้องเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ศาลเลือกตั้ง  หมายความว่าระดับชาติให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง  ระดับท้องถิ่นให้ศาลอุทธรณ์  คือให้มีการนำไปสู่ศาลชำนัญพิเศษ  โดยการหาเลขมาตราที่ให้อำนาจกกต.มากเกินไป  เพราะเลขมาตราเหล่านี้เป็นเลขมาตราที่ทำลายพรรคการเมือง  จึงเป็นเลขมาตราที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
๔.                พระราชบัญญัติเลือกตั้งส.ส.  และส.ว.  ๒๕๕๐  ให้หาเลขมาตราที่จะรณรงค์หาเสียงทำได้ยากขึ้น  ทำได้ลำบากขึ้น 
๕.                ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา  ๒๕๕๑
ข้อบังคับการประชุมส.ส.       ๒๕๕๑
ข้อบังคับการประชุมส.ว.       ๒๕๕๑
ให้หาเลขข้อที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา  เพราะข้อบังคับเหล่านี้เป็นข้อบังคับที่ให้อำนาจต่อประธานรัฐสภาในการควบคุมการดำเนินการอภิปรายมากเกินไปจึงเป็นอุปสรรคต่อระบบรัฐสภา  อันทำให้สภานิติบัญญัติไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารได้
๖.                 ข้อบังคับของพรรคการเมือง             (เลือกมา    พรรค)  คือข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ส.ส.  ข้อบังคับที่ทำให้ส.ส.ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือมติพรรคไม่มีผลเต็มที่
ทั้งหมดนี้เป็นระบบรัฐสภา  ส่วนที่เหลือให้ทำระบบประธานาธิบดี  ซึ่งเป็นระบบที่แยกกัน  ในชั้นนี้ให้ดูการปกครองส่วนท้องถิ่น  เพราะพระราชบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น  ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจออกจากกัน  คือ  ส.จ.  ส.ท.  หรือสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่นยังตรวจสอบนายกองค์กรส่วนท้องถิ่นอยู่  นอกจากนั้นยังมีราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาคเข้าตรวจสอบอยู่  ความหมายคือ  ระดับชาติเป็นระบบรัฐสภา  ส่วนระดับท้องถิ่นเป็นระบบประธานาธิบดี  เพราะนายกองค์กรส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง  หากนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งก็จะเป็นระบบประธานาธิบดี  แต่เมื่อการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นระบบประธานาธิบดี  ทำไมยังมีราชการส่วนกลาง  อธิบดี  รัฐมนตรี  เข้าไปแทรกแซง  ยังมีราชการส่วนภูมิภาค   นายอำเภอ  ผู้ว่า    เข้าไปแทรกแซง  ยังมี  ส.ท.  สมาชิกสภานิติบัญญัติ  เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับนายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  เพราะนายกองค์กรส่วนท้องถิ่นคือระบบประธานาธิบดี  จึงต้องปราศจากการเข้าไปแทรกแซง  เพราะรูปแบบเป็นประธานาธิบดี    
๗.                กลุ่มที่  ๗ - ๑๑  ให้ทำเกี่ยวกับพระราชบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้หาเลขมาตราที่ทำให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอำนาจอย่างเต็มที่  เช่น  จะประชุมต้องถามนายอำเภอ  แผนพัฒนาอบต.ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาอำเภอ
๘.                ศาลรัฐธรรมนูญ
วิธีการทำรายงานให้แยกเป็นบทดังนี้
                บทที่                   เรื่องทั่วไป  ความสำคัญ  ความเป็นมา  ที่มา  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                บทที่                                  ทฤษฎีของต่างประเทศ  ให้ดูว่าเรื่องที่ทำมีทฤษฎีต่างประเทศอะไรบ้าง
                บทที่                   กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  อย่าเอากฎหมายมาแปะ  แต่ให้คัดเอามาตราที่มีปัญหาในบทที่    เอามาใส่ในบทที่    แล้วอธิบายว่ามาตรานี้คืออะไร  ไม่ต้องบอกปัญหาเอาไว้บอกในบทที่    บทที่    จะมีแต่การอธิบายกฎหมายว่ามาตรานี้คืออะไร
                บทที่             ***อาจารย์จะเน้นบทนี้เพราะเป็นบทที่นักศึกษาทำเองจะต้องมีอย่างน้อย  ๑๓ - ๒๐  หน้า***  เช่น  มาตรา  ๑๗๗  วรรคสอง  ของรัฐธรรมนูญให้ตัดมาทั้งหมดแล้วให้เหตุผลประมาณ    บรรทัดว่าขัดกับระบบรัฐสภาอย่างไร  แล้วเอามาตราต่อไป  คือเอามาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหามาแปะแล้วให้เหตุผลสัก    บรรทัด  โดยอาจารย์จะเน้นอ่านเหตุผล
                บทที่                  สรุป  เสนอแนะ
                กำหนดส่งรายงานภายในวันที่  ๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๕๔  โดยให้ส่งทางไปรษณีย์จ่าหน้า
                                รศ.พัฒนะ  เรือนใจดี
                        คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
                        แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ
                        กรุงเทพมหานคร
                        ๑๐๒๔๑
***วันที่  ๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๔  รายงานต้องอยู่บนโต๊ะอาจารย์  มิฉะนั้นถือว่าไม่มีรายงานส่งในกำหนดจะไม่ได้คะแนน***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น