ขออภัย

บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจากWebsiteต่างๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Lw 741 คำบรรยาย อาจารย์พัฒนะ 28 พฤษภาคม 2554

สรุปคำบรรยาย ครั้งที่ 1
วันที่ 28 พฤษภาคม 2554
อาจารย์พัฒนะ เรือนใจดี
การแถลงนโยบาย
มาตรา 176
เป็น สส. ก็สามารถเป็น รัฐมนตรีได้
มาตรา 174(6)
ที่มาของคณะกรรมการสรรหา
มาตรา 231,มาตรา 243,มาตรา 246,มาตรา 252
ที่มาของ สส.
มาตรา 93,มาตรา 94,มาตรา 95,มาตรา 96,มาตรา 97,มาตรา 98
ที่มาของ สว.
มาตรา 111,มาตรา 112,มาตรา 113
การถอดถอน
มาตรา 270,มาตรา 271,มาตรา 272
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
มาตรา 158,มาตรา 159
*แต่มาตราที่สำคัญมากคือมาตรา 160
กฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ไม่มีกฎหมายใดสูงกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายชั้นสูง กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ หากกฎหมายใดขัดกับกฏหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะนำมาใช้บังคับไม่ได้ แต่มีทนายบางคนบอกว่า กฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะตกเป็นโมฆะ ซึ่งไม่ใช่ เพราะคำว่าโมฆะนั้นจะใช้กับกฎหมายแพ่ง ไม่นำมาใช้กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด หรือเรียกว่า หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
การเรียนในชั้นปริญญาโทจะต่างกับปริญญาตรี คือ ปริญญาตรี คำถามจะเน้นความจำ เช่น จงอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจมา ทั้งคณะและรายบุคคลพร้อมทั้งรายละเอียด ให้อธิบายมาโดยละเอียด หรือ จงอธิบายที่มาของ สส. และ สว. ตามที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ แต่ในชั้นปริญญาโทจะถามว่า มาตรา 162 ว.2 เขียนถูกหรือเขียนผิด,มาตรา 164 และ มาตรา271-273 เขียนถูกหรือเขียนผิด
มาตรา 162 ว.2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมือง ในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
การที่ สส.ไม่ต้องฟังมติพรรค มีอิสระในการดำเนินการ เขียนถูกหรือเขียนผิด ถ้าเขียนถูก ถูกเพราะอะไร และถ้าเขียนผิด ผิดเพราะอะไร?
การจะตอบนั้นจะต้องขึ้นต้นว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีถูกมีผิด กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายแล้วแต่ คือ เข้าคูหาแล้วเอาตามเสียงของคนส่วนใหญ่ที่เห็นด้วยแล้วออกมาเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ แบบนี้ไม่ใช่ เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องเป็นกฎหมายที่มีคำตอบ ถ้ากฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีคำตอบแล้วจะสามารถตรวจสอบได้อย่างไร
อาจารย์ยกตัวอย่างที่อาจารย์ออกข้อสอบเข้าศึกษาระดับปริญญาโทของราม ว่ามีนักศึกษาสมัคร 1500 คน เอา 80 คน โดยถามว่า จากการพิจารณา รัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 91,92,93,94 การมีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมากๆดีหรือไม่อย่างไร?จากการพิจารณารัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 237 กับกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91,92,93,94 การที่บัญญัติให้มีการยุบพรรคมากๆดีหรือไม่ อย่างไร?
การมีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมากๆดีหรือไม่ เช่น รับต่างด้าวเข้าพรรคก็โดนยุบ,รับเงินสกปรกก็โดนยุบ,ช่วยญาติที่เป็น สว.หาเสียงก็โดนยุบ,กลั่นแกล้งพรรคอื่นก็โดนยุบ,ไม่แจงบัญชีรายรับ-รายจ่ายก็โดนยุบ,เอาเงินที่ กกต.ให้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็โดนยุบ เหมือนอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์โดน แต่พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่โดนยุบ เพียงแต่โดนฟ้อง,หาสมาชิกแต่ละคนกระจายในแต่ละภาคไม่ได้ก็โดนยุบ,ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครก็โดนยุบ สรุปดีหรือไม่ดี?
อาจารย์ต้องการบอกว่าอย่าคิดว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายแล้วแต่ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งยังมีธงคำตอบ เช่น ฆ่าคนตาย ก็ตอบได้ว่าผิดมาตรา 288 ,ขโมยของ ผิดมาตรา 334 ,วิ่งราวทรัพย์ ผิดมาตรา 336 ,ยักยอกทรัพย์ รับของโจร โกงเจ้าหนี้ ทำไมกฎหมายอาญามีธงดังนั้นกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ต้องมีคำตอบ ในเมื่อกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งยังมีคำตอบ แต่รัฐธรรมนูญไม่มี เช่น การมีบทบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมืองมากๆดีหรือไม่ดี? บางคนก็บอกว่าดี เพราะพรรคเลว พรรคชั่ว พรรคก็ต้องโดนยุบ แต่บางคนก็บอกว่าไม่ดี เพราะพรรคการเมืองเป็นตัวตึก เป็นสถาบันการเมืองไม่เกี่ยวกับคน เมื่อคนทำผิดคนก็ต้องติดคุก แล้วเราจะตรวจได้อย่างไรว่าความคิดไหนถูกหรือผิด
กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่กฎหมายแล้วแต่ ต้องมีหลัก มีทฤษฎี มีกฎหมายรองรับ ต้องมีคำตอบ ไม่ใช่ตอบอย่างไรก็ได้ แล้วแต่เหตุผลสนับสนุน ถ้าเป็นแบบนี้ต้องไปเรียนรัฐศาสตร์
กลับมาที่มาตรา 162 ว.2 ซึ่งเป็นเรื่องมติพรรคกับอิสระของสส. พรรคต้องสั่ง สส.ได้ หรือ สส.ต้องปราศจากการครอบงำของพรรคการเมืองนั้นต้องมีธงคำตอบ มีกฎหมาย มีทฤษฎีมารองรับ ทั้งๆที่กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายลำดับรองแต่ก็ยังมีธงคำตอบ มีเฉลย
จุดประสงค์ของอาจารย์ก็เพื่อต้องการให้คนที่เรียนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ มองออกว่าการร่างรัฐธรรมนูญร่างแบบไหนถูกต้อง ร่างแบบไหนไม่ถูกต้อง กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายชั้นสูงต้องใช้เทคนิค มันเป็นกลไกของการผูกโยงกันของอำนาจอธิปไตย ซึ่งประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ซึ่ง3อำนาจนี้มีวิธีผูกโยงกัน ไม่ใช่ต้องการจะผูกอย่างไรก็ได้
มาตรา 171 การจำกัดวาระของนายก ควรจะจำกัดหรือไม่? เช่น กรณีอดีตนายกทักษิณ ซึ่งกฎหมายต้องมีคำตอบ ,มาตรา 162 ว.2 จะไปเอาคำตอบที่ไหน,การจำกัดวาระนายกจะไปเอาคำตอบที่ไหน ไม่ใช่ว่าเอาตามที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วย เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ไม่ต้องการการมีส่วนร่วม
การเมืองที่ไหนในระบบรัฐสภาที่ให้ สส. โหวตได้ตามใจชอบ?
ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสิงคโปร์ พรรคต้องเป็นใหญ่ มติพรรคคือความยิ่งใหญ่ของระบบรัฐสภา เป็นเครื่องมือสำคัญ ในระบบรัฐสภาหัวใจอยู่ที่มติพรรค ต้องใช้มติพรรคในการควบคุม สส.
การจำกัดวาระของนายก ประเทศไหนมีการจำกัดวาระบ้าง?
ประเทศอื่นไม่มีการจำกัดวาระของนายก แต่ของเราร่างแบบจะเอาอย่างไรก็ร่าง เมื่อร่างเสร็จแล้วก็ไปถามชาวบ้าน ชาวบ้านก็ใช้ตามความรู้สึกตามข้อเท็จจริง คือเห็นว่าควรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงกลายเป็นกฎหมายข้อเท็จจริง คือร่างจากข้อเท็จจริง เช่น กรณีของอดีตนายกทักษิณ เป็นนายกนานเกิน ก็กำหนดว่าห้ามเป็นนายกเกิน 2 วาระ,กรณีสส.ซื้อเสียงในสนามเลือกตั้ง ก็ร่างกฎหมายขึ้นมาไม่ให้ สส.เป็นรัฐมนตรี เพราะกลัว สส.จะไปถอนทุนคืน จึงห้ามสส.เป็นรัฐมนตรี คือเป็นการร่างรัฐธรรมนูญแบบใช้ข้อเท็จจริงร่าง คือเอาข้อเท็จจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วข้อเท็จจริงมันจะหมุนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ทันเหรอ เมื่อกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่นิ่ง ต้องร่างกันทุกวัน กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นกฎหมายแกว่งทุกวันเพราะข้อเท็จจริงเปลี่ยนทุกวัน
มาตรา 72 แก้จากสิทธิในการเลือกตั้งเป็นหน้าที่แทน เพราะกลัวว่าสส.จะซื้อเสียง แต่ถึงแม้จะแก้ไขให้เป็นหน้าที่แทน สส.ก็ยังซื้อเสียงไหวอยู่
องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
1.ข้อจำกัดอำนาจรัฐ
2.ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ
3.หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย :อำนาจนิติบัญญัติ(รัฐสภา) อำนาจบริหาร(คณะรัฐมนตรี) อำนาจตุลาการ(ศาล) ซึ่ง 3 อำนาจนี้มีการผูกโยงเชื่อมต่อกัน
ซึ่งจากองค์ประกอบข้างต้นสามารถแตกเป็นกฎหมายลำดับรองได้
ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยต้องมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ประเทศที่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ อาจไม่เป็นประชาธิปไตยก็ได้ สิ่งสำคัญคือสิ่งที่อยู่ภายใน จีน เกาหลีเหนือ คิวบา ยุโรปตะวันออก ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ ก็มีกฎหมายสูงสุดในการปกครอง ประเทศไหนๆก็มีกฎหมายสูงสุด แต่ว่ามี 3 สิ่งข้างต้นหรือไม่ 3 สิ่งข้างต้นถือเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ หากขาดข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่เป็นประชาธิปไตย
ระบบการเมืองเป็นตัวสะท้อนถึงอำนาจอธิปไตย ซึ่งระบบการเมืองในโลกนี้มี 2 แบบ คือ ระบบประธานาธิบดี และระบบรัฐสภา
ระบบการเมืองเป็นตัวแบ่งอำนาจอธิปไตย คือ ระบบรัฐสภาเกี่ยวข้องอย่างไรกับอำนาจอธิปไตย ระบบประธานาธิบดีเกี่ยวข้องอย่างไรกับอำนาจอธิปไตย
ไทยมีรัฐธรรมนูญหรือไม่ แล้วเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ มีข้อจำกัดอำนาจรัฐ ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย อยู่มาตราไหน ถ้าตอบได้ แสดงว่าไทยมี แต่หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย
ระบบรัฐสภารัฐเป็นใหญ่ ระบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเป็นใหญ่ (ดูรูปที่เป็นวงกลมในหนังสือ)
400 เป็น 375 ดีหรือไม่ สส.เขตลดลง ทำให้เกิดอะไรขึ้น?
80 เป็น 125 ดีหรือไม่ สส.ปาร์ตี้ลิสต์มากขึ้น ทำให้เกิดอะไรขึ้น?
พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของประเทศใดบ้างที่โดนยุบ คำตอบคือ ไม่มี มีแต่ประเทศไทยนี่แหละ สมัยก่อนคนรุ่นเก่าไม่รู้จักเรื่องยุบพรรค มีแต่ตอนปฏิวัติเท่านั้น พรรคการเมืองถือเป็นหัวใจของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เรื่องการยุบพรรคนั้นเพิ่งมีเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ประมาณ 5 ถึง 7 ปี หัวใจของระบบรัฐสภาอยู่ที่พรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นตัวตึก เป็นสถาบันทางการเมือง บทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคที่ไม่ว่าจะทำอะไรผิดก็ยุบพรรค เป็นบทบัญญัติที่ไม่ควรจะมี
กฎหมายรัฐธรรมนูญควรดูที่ทฤษฎีไม่ใช่ดูที่ข้อเท็จจริง จึงไม่ต้องการการมีส่วนร่วม
อาจารย์ตั้งประเด็นว่า การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยจะแบ่งแยกตามระบบการเมือง แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญจึงไม่เกี่ยวข้องกับระบบการเมือง(คนละเรื่องเดียวกัน)
ระบบรัฐสภาให้ความสำคัญกับอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องการการมีส่วนร่วม
อาจารย์บอกว่า หมวดสิทธิเสรีภาพ หมวดพระมหากษัตริย์ จะบัญญัติอย่างไรก็ทำไป แต่เรื่องที่สำคัญคืออย่าเขียนเรื่อง นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ผิด เพราะทั้ง 3 เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการร่าง กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่และยาวนาน ได้แก่ รัฐธรรมนูญของอเมริกา มีประชาชนคนไหนเข้าไปกาลงคะแนนบ้าง คำตอบคือไม่มี ร่างกันเพียงไม่กี่คน คือ โทมัส เจฟเฟอร์สัน,จอร์ช วอชิงตัน,อริสเดอ เฮมมิงตัน ร่างเสร็จก็ประกาศ อาจมีแก้ไขบ้างแต่ไม่มาก
กฎหมายรัฐธรรมนูญของเราไม่มีความคงทน ต่อเนื่อง แม้ประชาชนจะมีส่วนร่วมแต่เมื่อไม่พอใจก็มีการปฏิวัติ ฉีกรัฐธรรมนูญ แล้วก็ทำการแก้ไขใหม่
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแห่งแม่แบบของรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่มีตัวรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญของอังกฤษอยู่ในรูปแบบของจารีตประเพณี ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน มีการผูกโยงกันของอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ดังนั้นการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น หัวหน้าพรรคการเมืองเสียงข้างมากต้องเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นธรรมเนียม โดยที่ไม่ต้องบัญญัติไว้ แต่เป็นที่รู้กัน สรุปคือเป็นธรรมเนียม แต่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
ความมีอยู่ของรัฐธรรมนูญกับความเป็นระบบรัฐสภามันเป็นคนละเรื่องกัน สำคัญคือ ถ้าเป็นระบบรัฐสภา ความผูกโยงกันต้องผูกโยงกันอย่างถูกต้อง คือให้ความสำคัญกับ 3 อำนาจ แล้วชาวบ้านจะเข้าใจเรื่องการผูกโยงกันได้อย่างไร ประเทศอเมริกาไม่มีการถามชาวบ้าน
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ไม่มีวันส่งผู้ร้ายข้ามแดน ถ้าเป็นคดีการเมือง เพราะที่มาของความเป็นชาตินั้นมาจากการที่ทุกคนไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกกดขี่ข่มเหง ประเทศอเมริกา มี 50 กว่ารัฐ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องสำคัญ ให้ดูเรื่อง fundamental right and human right ดูว่าอะไรใหญ่กว่ากัน
ประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น อเมริกา การเลือกตั้งนั้นเป็นสิทธิ ไม่ใช่หน้าที่เหมือนไทย เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความสมัครใจ มาเลเซียใช้วิธีจูงใจ ซึ่งสิทธิพวกนี้เป็น fundamental right
มาตรา 212 คนธรรมดาฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้
กฎหมายรัฐธรรมนูญกับระบบการเมืองเป็นคนละเรื่องกัน ระบบการเมืองเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ของอำนาจอธิปไตย ระบบรัฐสภา สภาต้องเป็นใหญ่ ระบบการเมืองนั้นวางไว้ก่อนแล้ว ตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือรับใช้ระบบการเมือง แต่ของเราตรารัฐธรรมนูญโดยไม่มีใครถามว่าเขียนขัดกับหลักทฤษฎีหรือไม่ กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ไม่ต้องการการมีส่วนร่วม จึงไม่จำเป็นต้องมีการลงคะแนน
อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับการรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ มาตรา 162 ว.2 แค่มาตราเดียวก็ไม่รับแล้ว เนื่องจากการเมืองระบบรัฐสภานั้น ให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง พรรคต้องสั่งสส.ได้ มติพรรคยิ่งใหญ่กว่าอิสระของผู้แทน แต่ยังดีที่ไม่มีสส.คนไหนอ่านมาตรา 162 ว.2 ถึงมีก็ยังไม่กล้า ถ้ามีเมื่อไหร่ เอาเรื่องไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญพรรคจะขับออกได้อย่างไร ดูมาตรา 65(3) มาตรา 10 กฎหมายพรรคการเมือง เมื่อมาตรา 162 ว.2 เบี้ยว มาตรา 10 ก็เบี้ยวตาม เมื่อแม่เบี้ยวลูกก็เบี้ยวตาม เนื่องจากเป็นการเขียนสนับสนุนความเป็นอิสระของสส. ทำให้เห็นว่าการเมืองระบบรัฐสภาจะก่อปัญหาอย่างยิ่ง ทำให้เสถียรภาพในระบบรัฐสภาบรรลัย ในระบบรัฐสภาต้องใช้มติพรรคหรือวิป หากมีการขับสส.ออกจากพรรค ศาลรัฐธรรมนูญ จะใช้อะไรตัดสินให้กลับเข้ามา ก็ใช้มาตรา 65 ,162 ว.2,10,122
มาตรา 177 ว.2 ห้ามรัฐมนตรีที่เป็นสส.ด้วยลงคะแนน แต่หลักของอังกฤษ คือการสวมหมวก 2 ใบ คือเป็นทั้งสส.และรัฐมนตรีได้ แต่มาตรา 177 ว.2 กลับห้ามลงคะแนน
ห้ามยุบสภาในเวลาที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใย ซึ่งจริงๆแล้วการยุบสภากับการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นของคู่กัน กรณีของพลเอกเปรม เป็นนายกคนเดียวที่ไม่เคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใย เพราะยุบหนีซะก่อน ซึ่งไม่เป็นการเสียหาย เพราะการยุบสภาเป็นเครื่องมือตอบโต้ของการอภิปราย แต่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติห้ามยุบสภาหนีไว้ แต่บัดนี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 เพราะร่างจากข้อเท็จจริง คือหากปล่อยให้มีการอภิปรายก็จะมีนายกยุบสภาหนี จึงเขียนห้ามไม่ให้ยุบสภาหนีไว้ แต่หารู้ไม่ว่าการยุบสภาไม่เกี่ยวกับหนีไม่หนี แต่มันเป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งเรียกว่า collective responsibility : หลักการโต้ตอบของรัฐ
มีคนพูดว่าสภาต้องมีความผิดถึงยุบได้ แต่หารู้ไม่ว่าแม้ไม่มีความผิดก็ยุบได้
รัฐธรรมนูญ 50 เป็นรัฐธรรมนูญที่ทำลายระบบรัฐสภา
17 สิงหาคม อาจารย์ไปถามป้าร้านกาแฟว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ 50 หรือไม่ ป้าบอกไม่รู้แต่สุดท้ายป้าก็บอกว่ารับ ด้วยเหตุผลว่า ลูกบอกให้รับ ป้าไม่มีความรู้เรื่อง มาตรา 162,177 ว.2,166 อาจารย์มองว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญ 50 นั้นไม่ถูกต้อง มีที่ไหนที่เอาประชาชนจบป.4 เข้าเต็นท์ แล้วเลือกว่ารับไม่รับ สิ่งที่ดอกเตอร์ร่าง ซึ่งในกรณีนี้ต่างกับฝรั่งเศสที่ให้ประชาชนมาลงประชามติ เนื่องจากกรณีฝรั่งเศสเป็นกรณีที่ทำรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วมีคำถามที่ต้องถาม(single subject)คือมีประเด็นเดียว ที่จะต้องถามว่าจะต้องแก้หรือไม่ มีไทยที่เดียวที่เอาคนเข้าเต็นท์
บัดนี้องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ได้ก้าวล่วงการทำงานของฝ่ายบริหาร
ดูมาตรา 184,185
ทำไมการตราพระราชกำหนดต้องตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ นายกทุกคนอยากจะปลิดมาตรา184,185 ณ ตอนนี้การตราพระราชกำหนดไม่ง่ายแล้ว
ในระบบรัฐสภา สภาเท่านั้นที่ขี่ฝ่ายบริหาร
กระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญนั้นผิด เอามาถามชาวบ้าน ชาวบ้านก็ตอบไม่ได้ เป็นเพียงการตอบไปตามความรู้สึก เป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่ แต่เสียงส่วนใหญ่บอกได้แต่เพียงว่าต้องการอะไร แต่อาจไม่ถูกต้อง
หลักความสูงสุดของรัฐสภา
1.รัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐสภาให้ความไว้วางใจ
หลักอยู่ที่สภาไม่ใช่ประชาชน อังกฤษไม่มีองค์กรอิสระ ให้ฝ่ายการเมืองตรวจสอบ คือให้สภาตรวจสอบ ซึ่งเป็นมาตรการของสภา แต่เราไปเอาประชาชนมาตรวจสอบได้อย่างไร ให้ศาลตรวจสอบก็ไม่ได้ 2.รัฐบาลมาจากเสียงข้างมาก ฝ่ายค้านจะล้มรัฐบาลไม่ได้อยู่แล้ว ได้แต่ตรวจสอบในทางการเมืองเท่านั้น
3.รัฐสภาและรัฐบาลต่างตอบโต้กันได้
4.สมาชิกรัฐบาลมาจากสมาชิกรัฐสภา
5.รัฐบาลและรัฐสภาร่วมกันกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ
มาตรา 141 การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายมี รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ประกาศ
การที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสูงกว่าพระราชบัญญัติ เพราะ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ >การตรวจสอบก่อนตราออกมาเป็นกฎหมาย(ตรวจสอบแบบนามธรรม) และการตรวจสอบภายหลังคือตราออกมาเป็นกฎหมายแล้ว (ตรวจสอบแบบรูปธรรม)
มีเลขมาตราใดบ้างที่แสดงกลไกการควบคุมของรัฐ?
หากยิ่งเอาอำนาจรัฐออกไป เพิ่มอำนาจองค์กรอื่นจะเป็นการขัดต่อระบบรัฐสภา ไม่มีอะไรใหญ่กว่ารัฐสภา รัฐสภาเท่านั้นที่เอานายกออกได้ ของไทยเขียนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญผิด เขียนเกินกว่าที่ศาลรัฐธรรมนูญควรจะมี สิ่งเดียวที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคือ การควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในอำนาจใดของอำนาจอธิปไตย?
รัฐธรรมนูญ 40 ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อนเล่นงานรัฐบาล
อาจารย์บอกข้อสอบไล่อาจถามเรื่อง จากการที่เปลี่ยนแปลงที่มาของสส.เป็น…………ท่านเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่มาดังกล่าว แต่ยังคงตัวเลขการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้ 1 ใน 5,1 ใน 6 ท่านเห็นว่าสอดคล้องกับระบบรัฐสภาหรือไม่อย่างไร คำตอบคือ ยิ่งสส.มีจำนวนน้อยหรือไม่กี่คน แล้วสามารถอภิปรายได้ ถือว่าสอดคล้องกับระบบรัฐสภา เนื่องจากต้องการให้ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้โดยง่าย
ในเยอรมัน ไม่มากรแยกทั้งคณะและรายบุคคล แต่สามารถอภิปรายรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ทุกคน ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันตรวจสอบดูว่ามีกฎหมายใดขัดต่อกฎหมายขั้นพื้นฐานบ้าง และไม่ให้กฎหมายมลรัฐขัดกับกฎหมายสหพันธรัฐ ไม่ให้กฎหมายสหพันธรัฐขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ
ในฝรั่งเศสคณะตุลาการฝรั่งเศสเรียกว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฝรั่งเศสไม่ใช่รูปแบบศาล แต่เป็นรูปแบบองค์กรทางการเมือง จะมีการตรวจสอบกฎหมายโดยตรวจสอบก่อนที่กฎหมายจะตรา และตรวจสอบภายหลัง ฝรั่งเศสไม่มีศาลเลือกตั้ง เลยใช้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแทนศาลเลือกตั้ง
ของไทยให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมาขี่ฝ่ายบริหาร อะไรๆก็ให้ศาลตรวจสอบ เช่นเรื่องลูกจ้างกรณีอดีตนายกสมัครก็ให้ศาลตรวจสอบ
อ่านเรื่องศาลรัฐธรรมนูญภิวัตต์ อยู่ในหนังสือของอาจารย์
มาตรา 243,246,252,231,206
มาตรา 237,267,68,184,185,194 มาตราเหล่านี้ในต่างประเทศไม่มี เมื่อต้นฉบับไม่มีแล้วไทยจะมีได้อย่างไร เมื่อเราไปใส่อำนาจแบบนี้ ทำให้เป็นการตีโป่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญออกไป
หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญไม่ใช่หลักความสูงสุดของรัฐสภา
ตุลาการภิวัตต์ : หากอำนาจนิติบัญญัติขัดกับอำนาจบริหาร ให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน นั้นมันไม่ถูกต้อง การใช้อำนาจอธิปไตยต้องมีฐานมาจากประชาชน อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ถ้าศาลจะเข้าไปตรวจสอบตรงนั้นต้องเปลี่ยนที่มาของศาลก่อน คือต้องให้ศาลมีที่มาจากประชาชน ใน 5 ข้อที่จดไปนั้น มีคำว่าตุลาการอยู่ตรงไหนบ้าง สรุปแล้วไม่มีเลย หลักการปกครองระบบรัฐสภา คือ การหลอมรวมระหว่างนิติบัญญัติกับบริหาร(สวมหมวก2ใบ) แต่บัดนี้เราใส่มั่วไปหมด เช่น เอาฝ่ายตุลาการไปตรวจสอบฝ่ายบริหาร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น