ขออภัย

บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจากWebsiteต่างๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Lw 741 แนวข้อสอบ อาจารย์พัฒนะ

แนวข้อสอบ
วิชา รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง
บรรยายโดย รศ.พัฒนะ เรือนใจดี
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1. Collective Responsibility กับ Strong Executive
การเมืองในระบอบประชาธิปไตยมี 2 ระบบคือ
1. ระบบรัฐสภา
2. ระบบประธานาธิบดี
กรณีมีบางประเทศเช่นประเทศฝรั่งเศส ที่บางท่านคิดว่าเป็นการปกครองระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี ความจริงไม่ใช่ ต้องดูว่าให้น้ำหนักกับฝ่ายไหนมากกว่ากัน ให้น้ำหนักกับฝ่ายรัฐสภาหรือให้น้ำหนักกับฝ่ายบริหาร หากประเทศไหนให้น้ำหนักกับฝ่ายรัฐสภามาก(นายกฯ) ประเทศนั้นก็เป็นระบบรัฐสภา(อินเดีย) แต่หากประเทศไหนให้น้ำหนักกับฝ่ายบริหารมากประเทศนั้นก็เป็นระบบประธานาธิบดี (ฝรั่งเศส)
Collective Responsibility เป็นหลักการสำคัญของการปกครองในระบบรัฐสภา คือหลัก ความใกล้ชิดกันอย่างยิ่งของการเมืองในระบบนิติบัญญัติ กับ การเมืองในระบบบริหาร หมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติต้องตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ตลอดเวลา และในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารก็ต้องสามารถตอบโต้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน การตอบโต้ซึ่งกันและกัน หมายความว่า เมื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ก็ยุบสภาได้เช่นกัน ซึ่งเป็นหลักของการปกครองระบบรัฐสภา ประเทศไหนเขียนรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งกับฝ่ายบริหารก็สอดคล้องกับระบบรัฐสภา แต่ถ้าประเทศไหนเขียนรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายนิติบัญญัติห่างออกไปจากฝ่ายบริหาร มันก็ไม่สอดคล้อง ที่สอดคล้องคือต้องเขียนให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นใหญ่กว่าฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเขียนให้ฝ่ายบริหารใหญ่กว่าฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
สรุปสาระของระบบรัฐสภา คือ
1. ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารตรวจสอบกันได้
2. ให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งกับฝ่ายบริหาร
3. ฝ่ายบริหารมีมาตรการตอบโต้
4. ฝ่ายบริหารต้องบริหารอยู่ภายใต้ฝ่ายนิติบัญญัติ
ดังนั้นสิ่งที่จะต้องตรวจสอบว่าอะไรคือรัฐธรรมนูญจึงมีความจำเป็น
สิ่งที่จะตรวจสอบว่าอะไรเป็นรัฐธรรมนูญนั้น คือ
1. ต้องมีข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ - จะเป็นหลักประกันให้กับประชาชน
2. ต้องมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยไว้โดยชัดเจน - นิติ บริหาร ตุลาการ
3. ต้องมีข้อจำกัดอำนาจรัฐ - มิใช่จำกัดอำนาจประชาชน
ในการเมืองในระบบรัฐสภา สภาต้องเป็นใหญ่ คือสภานิติบัญญัติ ระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าจะอยู่ในระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี ความสำคัญอยู่ที่อำนาจนิติ บริหาร ตุลาการ คืออยู่ที่อำนาจอธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยก็มีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่ของแต่ละประเทศ หนทางหรือปลายทางในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญคือ ต้องร่างให้เสริมสร้างการทำงานของสภานิติบัญญัติให้มากขึ้น การที่จะสรุปว่าประเทศปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่ดีนั้น เราต้องไปดูส่วนที่ว่าด้วยการทำงานของสภานิติบัญญัติ ว่ากระบวนการทำงานของสภานิติบัญญัติของเขาออกแบบให้ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้หรือไม่ ซึ่งรัฐบาลในระบบรัฐสภาไม่ต้องการเสถียรภาพ แต่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับสภา ( ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา )
ในระบบรัฐสภา การสำรวจเกี่ยวกับการตรวจสอบกลไกการทำงานของสภา เช่น ญัตติ กระทู้ อภิปรายไม่ไว้วางใจ (จำนวน เหตุผล) ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะ ตั้งกรรมาธิการ การถอดถอน การตรวจสอบเรื่องงบประมาณ เป็นมาตรการที่สำคัญของสภานิติบัญญัติในการไปตรวจสอบฝ่ายบริหาร เมื่อเป็นการตรวจสอบของสภา จึงตรวจสอบคนเดียวไม่ได้ จึงต้องตรวจสอบโดยอาศัยมติพรรค ประเทศที่ปกครองโดยระบบรัฐสภาต้องอาศัยมติพรรค การทำงานต่างๆ ต้องอาศัยเสียง อาศัยมติพรรค แล้วมาตรการที่กล่าวมาสอดคล้องกับระบบของรัฐสภาหรือไม่ หากสอดคล้องกันมันต้องสามารถที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสภา แตะต้องได้ตลอดเวลา
แต่การตรวจสอบของสภามันไม่เป็นผล นายกฯ ไม่ให้ความสำคัญต่อวุฒิสภา ตามกฎหมายก็เช่นกัน อยากจะตอบกระทู้หรือไม่ก็ได้ ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บังคับหรือให้ความสำคัญกับฝ่ายบริหาร กระทู้ก็หย่อนไป กระทู้ไม่สอดคล้องกับระบบของรัฐสภา เพราะจะตอบหรือไม่ก็ได้ จะตอบในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบฝ่ายบริหาร กล่าวคือแก้ให้การเสริมสร้างให้การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็งขึ้น กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎรก็ตรวจสอบรัฐบาลได้ วุฒิสภาก็ตรวจสอบได้ มันก็จะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปกครองระบบรัฐสภาว่า รัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่สภาให้ความไว้วางใจ
การปกครองในระบบรัฐสภา เป็นการปกครองโดยเสียงส่วนน้อย(ครม.) ภายใต้ความเห็นของเสียงส่วนใหญ่ (สส.)
การร่างรัฐธรรมนูญ หัวใจอยู่ที่การเข้าใจระบบรัฐสภา และ ระบบประธานาธิบดี ต้องร่างให้มีการตรวจสอบกันได้ มาตรการตรวจสอบอยู่ที่ ญัตติ กระทู้ อภิปรายไม่ไว้วางใจ การตั้งกรรมาธิการ การถอดถอน การตรวจสอบเรื่องงบประมาณ เป็นต้น ดังนั้นประเทศที่มีการปกครองระบบรัฐสภา เข้าจึงออกแบบให้มีการตรวจสอบกันได้อยู่เสมอ

Strong Executive เป็นหลักการปกครองของฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง เป็นการปกครองในระบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดีไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา สภาคองเกรสทำอะไรประธานาธิบดีไม่ได้ เพราะมันแยกกันอยู่ หมายความว่า ประธานาธิบดีก็บริหารประเทศไป ส่วนสภาคองเกรสก็ออกกฎหมายไป ไม่เกี่ยวข้องกัน ในระบบประธานาธิบดีนั้น เป็นระบบที่มีการแยกอำนาจกัน ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ อย่างชัดเจนและเด็ดขาด ความเกี่ยวข้องอาจจะมีบ้างเช่น ประธานาธิบดีอาจจะไม่เอากฎหมายของสภาคองเกรสก็ได้ เขาเรียกว่าวีโต้ หรือเก็บไว้เฉยๆ สภาคองเกรส สามารถไต่สวนหรือถอดถอนประธานาธิบดีได้ แต่เขาก็ไม่ทำกัน ระบบที่มีการแบ่งแยกอำนาจกันทั้งนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เป็นแนวความคิดของมองเตสกิเออ ในระบบประธานาธิบดีนั้น ฝ่ายบริหารไม่มีใครตรวจสอบ เขาจึงเน้นไปที่องค์กรอิสระ ในการทำหน้าที่ในการตรวจสอบ


2. ความบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ระบบรัฐสภาของเรามีความบกพร่องตรงไหน นั่นก็คือว่าต้องทำการตรวจสอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดที่ว่าด้วยการทำงานของรัฐสภา กับหมวดที่ว่าด้วยการทำงานของคณะรัฐมนตรี ก็ต้องตรวจสอบว่าสิ่งเหล่านี้ทำไมไม่ไปถึงจุดที่ว่าความใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง หรือความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง เพราะพูดถึงกันแต่จำนวน เช่น
มาตรา 116 การยุบสภา บอกว่าการยุบสภาของสภาผู้แทนราษฎร จะต้องทำในสมัยประชุมเดียว ครั้งเดียว ต้องมีเหตุผล ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ก็ไม่ถูก เพราะการยุบสภานั้นเป็นมาตรการตอบโต้กัน ฝ่ายรัฐบาลสามารถจะมีอำนาจในการตอบโต้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ ซึ่งความจริงก็เห็นได้ว่ารัฐบาลกับรัฐสภา ความจริงก็พวกเดียวกัน ก็คือสมาชิกที่เป็นเสียงข้างมากของสภา ก็คือสมาชิกของรัฐบาล รัฐมนตรีต่างๆ ก็มาจากสภาสนับสนุน
รัฐธรรมนูญร่างแต่เพียงเฉพาะว่านายกมาจากการเลือกตั้ง รัฐมนตรีจึงมาจากไหนก็ได้ หลักการของระบบรัฐสภาคือต้องเอาสมาชิกสภานิติบัญญัติเข้าไปเป็นฝ่ายบริหาร ที่ไหนในโลกที่ปกครองระบบรัฐสภาเขาต้องให้สภานิติเป็นฝ่ายบริหาร เขาไม่ได้ตัดออก รัฐธรรมนูญปัจจุบันตั้งสมมติฐานผิดหลายอย่าง เช่น ต้องให้รัฐบาลอยู่นานๆ ขึ้นต้นก็ผิดแล้ว
ความจริงแล้วรัฐบาลนี้ไม่ต้องอยู่นาน แต่สภาสามารถตรวจสอบได้ และตรวจสอบอย่างไรรัฐบาลนี้ก็อยู่ได้เพราะเสียงข้างมากในสภาเป็นเสียงของรัฐบาล แต่เมื่อไปร่างให้เสถียรภาพก็กลายเป็นปกครองในระบบประธานาธิบดีไป
สมาชิกต้องเป็นสมาชิกนิติบัญญัติกับสมาชิกของบริหารในขณะเดียวกัน หมายความว่าเหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2517 , 2521 , 2534 กล่าวคือ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ โดยเฉพาะหมวดที่ว่าด้วยการทำงานของสภานิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพราะฉบับก่อนๆ นั้น สภานิติบัญญัติเป็นฝ่ายบริหารด้วย
การปฏิรูปหรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่การจะแก้ได้ทั้งหมดต้องอยู่ที่สังคม ต้องเสริมสร้างการทำงานของสภานิติบัญญัติ ให้สภานิติบัญญัติมีอำนาจมากขึ้น เมื่อหวังอะไรจาก สส. ไม่ได้ก็มาที่ สว. แต่การอภิปรายของ สว. เช่น จำนวนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ การเสนอกระทู้ การเสนอกฎหมาย การพิจารณางบประมาณ ก็ดี แต่ก็ไม่มีลงคะแนน จึงต้องให้ สว. มีอำนาจมากกว่าหรือเท่ากับ สส. หรือสิ่งที่ สส. ทำได้ สว. ก็ทำได้ เพราะนี่คือสภานิติบัญญัติ นี่เป็นประเด็นใหม่ๆที่เกิดขึ้น
จึงต้องทำให้สภานิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้ เช่น จำนวนการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 1ใน 5 ตาม ม.186 -187 ให้ลดจำนวนลงมา เพื่อเปิดอภิปรายได้และเพื่อให้สภานิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้
ประเทศอังกฤษ สภาตรวจสอบนายกรัฐมนตรีได้ตลอดเวลา เพราะกลไกการตรวจสอบของการอภิปรายไม่วางใจเขาไม่ได้วางไว้ว่าต้องมีกี่เสียง จำนวนเท่าไหร่ เพราะเขาวางไว้ตามรูป A สามารถตรวจสอบได้ สามารถอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้
รัฐบาลต้องไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นมาตราไหนของรัฐธรรมนูญที่เขียนให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มาตรานั้นผิด (หมายความว่า ตรวจสอบไม่ได้ ต้องใช้เสียงเท่านั้นเท่านี้ ต้องมีเหตุผล ผิดหมด) ดังนั้นรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ไม่ใช่ฉบับปัจจุบันนั้น ถูกทั้งหมด เพราะเขาเขียนให้มันเกี่ยวข้องกัน
ในระบบรัฐสภา การสำรวจเกี่ยวกับการตรวจสอบกลไกการทำงานของสภา เช่น ญัตติ กระทู้ อภิปรายไม่ไว้วางใจ (จำนวน เหตุผล การตั้งกรรมาธิการ) การถอดถอน การตรวจสอบเรื่องงบประมาณ เป็นมาตรการที่สำคัญของสภานิติบัญญัติในการไปตรวจสอบฝ่ายบริหาร เมื่อเป็นการตรวจสอบของสภา จึงตรวจสอบคนเดียวไม่ได้ จึงต้องตรวจสอบโดยอาศัยมติพรรค ประเทศที่ปกครองโดยระบบรัฐสภาต้องอาศัยมติพรรค การทำงานต่างๆ ต้องอาศัยเสียง อาศัยมติพรรค แล้วมาตรการที่กล่าวมาสอดคล้องกับระบบของรัฐสภาหรือไม่ หากสอดคล้องกันมันต้องสามารถที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสภา แตะต้องได้ตลอดเวลา แต่การตรวจสอบของสภามันไม่เป็นผล นายกฯ ไม่ให้ความสำคัญต่อวุฒิสภา ตามกฎหมายก็เช่นกัน อยากจะตอบกระทู้หรือก็ได้ ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บังคับหรือให้ความสำคัญกับฝ่ายบริหาร กระทู้ก็หย่อนไป กระทู้ไม่สอดคล้องกับระบบของรัฐสภา เพราะจะตอบหรือไม่ก็ได้ จะตอบในราชกิจจานุเบกษาก็ได้
กรรมาธิการในประเทศที่อยู่ในระบบรัฐสภา และ กรรมาธิการในประเทศที่อยู่ในระบบ
ประธานาธิบดี นั้น กรรมาธิการในประเทศที่อยู่ในระบบรัฐสภา มีอำนาจมากกว่ากรรมาธิการในประเทศที่อยู่ในระบบประธานาธิบดี แต่เมื่อมองดูประเทศที่อยู่ในระบบประธานาธิบดี กลายเป็นว่ากรรมาธิการของเขาลงโทษข้าราชการประจำได้ นำเสนอความผิดต่อวินัยได้ แต่ในระบบรัฐสภาไทย ไม่เห็นกรรมาธิการอยู่ในสายตา การเมืองในระบบรัฐสภาต้องเสริมสร้างอำนาจให้กรรมาธิการ ดังเช่นกรรมาธิการของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขาไม่มีความจำเป็นว่ากรรมาธิการจะต้องมีอำนาจมาก แต่กรรมาธิการเขาสามารถตรวจสอบข้าราชการได้ เรียกข้าราชการได้ หากเรียกไม่มาก็มีความผิด ลงโทษทางวินัยได้
ที่กล่าวมาจึงมองเห็นได้ว่า ทำไมองค์กรอิสระจึงมีความจำเป็นในระบบประธานาธิบดี ส่วนระบบรัฐสภาไทย คงมีแต่ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองเท่านั้นที่จำเป็น นอกจากนั้นไม่จำเป็นในระบบรัฐสภา เพราะระบบรัฐสภาให้อำนาจแก่สภานิติบัญญัติมากอยู่แล้ว เมื่อสภานิติบัญญัติมีอำนาจมากก็สอดคล้องกับหลักการของระบบรัฐสภา มากถึงขนาดไปคร่อมฝ่ายตุลาการด้วย
มาตรา 303 – 307 การเข้าชื่อ – การถอดถอน ของอังกฤษไม่มี ไทยไปลอกรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส เยอรมัน มา ซึ่งความจริงมันเป็นระบบที่แยกอำนาจกัน ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี เป็นระบบที่แยกอำนาจกัน แต่ของเราไม่ได้เขียนว่าให้แยกกัน แต่เขียนให้ฝ่ายบริหารถูกตรวจสอบยาก ไม่มีใครตรวจสอบฝ่ายบริหารฝ่ายบริหารจะได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการตั้งต้นผิด ต้องตั้งต้นให้สภาเป็นใหญ่ การเมืองในระบบรัฐสภาไม่จำเป็นต้องอาศัยการมีเสถียรภาพของฝ่ายบริหาร ซึ่งจะเปลี่ยนอย่างไรก็ได้แต่ขอให้เปลี่ยนอยู่ภายใต้กลไกของรัฐธรรมนูญ ที่เรารู้ว่าอนาคตมันจะเป็นอย่างไร
ในระบบประธานาธิบดีนั้น เป็นระบบที่มีการแยกอำนาจกัน ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ความเกี่ยวข้องอาจจะมีบ้างเช่น ประธานาธิบดีอาจจะไม่เอากฎหมายของสภาคองเกรสก็ได้ เขาเรียกว่าวีโต้ หรือเก็บไว้เฉยๆ สภาคองเกรส สามารถไต่สวนหรือถอดถอนประธานาธิบดีได้ แต่เขาก็ไม่ทำกัน ระบบที่มีการแบ่งแยกอำนาจกันทั้งนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เป็นแนวความคิดของมองเตสกิเออ ในระบบประธานาธิบดีนั้น ฝ่ายบริหารไม่มีใครตรวจสอบ เขาจึงเน้นไปที่องค์กรอิสระ ในการทำหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ปปช. คณะกรรมการต่างๆ เพื่อตรวจสอบ
แต่ของเราเป็นระบบรัฐสภา จึงไม่จำเป็นต้องมี จึงเป็นระบบรัฐสภาที่รุงรัง อำนาจเรามี
3 อย่าง ที่สำคัญก็คือต้องให้อำนาจสภานิติบัญญัติ คือเสริมสร้างการทำงานสภานิติบัญญัติ ให้สภานิติบัญญัติมีอำนาจมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ทำอยู่คือ กระทู้ ญัตติ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ตั้งกรรมาธิการ ถอดถอน การตรวจสอบเรื่องงบประมาณ ทั้ง 6 อย่างนี้ต้องให้อำนาจสภานิติบัญญัติอย่างเต็มที่ ความก้าวหน้าของไทยคือ การถอดถอน ซึ่งของอังกฤษเขาไม่มี และวุฒิสมาชิกของอังกฤษก็มาจากการแต่งตั้ง ของไทยก็มาจากการเลือกตั้ง เมื่อมาจากการเลือกตั้งอำนาจก็ต้องต่างจากสภาผู้แทนราษฎร เพราะถ้าอำนาจเหมือนกันแล้วทำไมต้องมี 2 สภา จึงต้องเพิ่มอำนาจให้กับ สว. แต่ที่สำคัญ เราต้องไม่เขียนรัฐธรรมนูญจากข้อเท็จจริง เราต้องเขียนรัฐธรรมนูญจากหลักทฤษฎีก่อนว่า หลักทฤษฎีจากระบบรัฐสภานั้น สภาต้องเป็นใหญ่ ในระบบรัฐสภาของไทยที่ก้าวหน้ากว่าเขาก็คือ การถอดถอน มาตรา 213 การเสริมสร้างการทำงานของพรรคการเมืองบทที่ว่าการให้อำนาจพรรคการเมือง
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
1. ฝ่ายบริหารเป็นสมาชิกของรัฐสภาในขณะเดียวกัน
2. สมาชิกรัฐสภาสามารถเข้าถึงหรือตรวจสอบฝ่ายบริหารได้
3. รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารต้องมาจากเสียงข้างมาก
4.รัฐบาลและรัฐสภาต่างมีอำนาจและต่างมีโอกาสที่จะควบคุมซึ่งกันและกันโดยหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
5. รัฐบาลและรัฐสภามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหลัก และมีหน้าที่ร่วมกันที่จะดำเนินนโยบายที่ได้กำหนดไว้โดยกฎหมาย
เป็นหลักการสำคัญของระบบรัฐสภา มี 5 อย่างดังกล่าว แล้วไปแตกในการสร้างรัฐธรรมนูญ ในประเทศต่าง ๆ
จากข้อ 1. ฝ่ายบริหารเป็นสมาชิกของรัฐสภาในขณะเดียวกัน
1.1 มาตรา 204 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ฝ่ายบริหารเป็นสมาชิกของรัฐสภาในขณะเดียวกัน ซึ่งบัญญัติว่าห้ามนายกรัฐมนตรี และ รมต.ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเป็นสมาชิกของรัฐสภาในขณะเดียวกัน ซึ่งความจริง นายกฯและ รมต. จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับสภาจึงจะถูกต้อง มาตรา 204 จึงขัดกับหลักการของระบบรัฐสภา (ต้องเขียนว่าให้นายกฯ/รมต.เป็นสมาชิกของรัฐสภาในขณะเดียวกัน)
1.2 มาตรา 118 (7) , 201 วรรค 2 , 206 , 215 (1) , 216 (7) ประกอบ 217 รมต.ไม่ต้องมาจาก สส./สว. เมื่อ รมต.ไม่ต้องมาจาก สส. มันก็ผิดหลัก ขัดต่อระบบรัฐสภา
ในประเทศอังกฤษ รัฐมนตรีมาจาก ส.ส.ทั้งสิ้น โดยจะมีการจัดกระทรวงเกรด A และกระทรวงเกรด B และก็อาจจะมีบางตำแหน่งมาจาก สภาสูงก็ได้ กระทรวงสำคัญต่าง ๆ เช่น กระทรวงคมนาคม ,กระทรวงมหาดไทย จะต้องให้ ส.ส.เป็นรัฐมนตรี ส่วนกระทรวงที่ไม่ค่อยมีความสำคัญเช่น กระทรวงวัฒนธรรม ฯ ก็อาจให้วุฒิสมาชิกเป็นรัฐมนตรีก็ได้ เพราะในจารีตประเพณีของอังกฤษ คนที่เป็นรัฐมนตรี จะสามารถเข้ามาชี้แจงเรื่องต่างๆ ได้ก็เฉพาะสภาที่ตนเองสังกัด การจะอยู่หรือไปของรัฐบาลในระบบรัฐสภามันอยู่ที่สภาล่าง ในประเทศอังกฤษทำให้ต้องมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีต่างๆ ขึ้นมาจากสภาล่าง ถือได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีหลายเรื่อง แต่ในส่วนรัฐสภามีความบกพร่อง คนร่างรัฐธรรมนูญสมัยก่อนจะร่างรัฐธรรมนูญให้มันเกี่ยวกัน (รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ) แต่รัฐธรรมนูญ ฯ พ.ศ.2540 ที่ไปลอกรัฐธรรมนูญในระบบฝรั่งเศสที่เป็นรัฐธรรมนูญที่แยกอำนาจมา ไม่ได้นำหลักทฤษฎีในทางรัฐธรรมนูญมาร่าง กลับนำเอาข้อเท็จจริงทางการเมืองของประเทศมาร่างจึงเสียหาย ข้อเท็จจริงคือจะมีการปฏิวัติรัฐประหารบ่อย หรือรัฐบาลตีกันเอง คนไทยก็เบื่อ ก็เลยร่างให้ตรวจสอบกันไม่ได้ หรือตรวจสอบได้ แต่ก็ตรวจสอบยาก รัฐบาลจะได้อยู่นาน ๆ ก็เลยขัดกัน เลยตั้งสมมติฐานว่า ส.ส.เป็นรัฐมนตรีไม่ได้ เนื่องจากเห็นว่าขี้โกง เพราะ ส.ส.ซื้อเสียง ถ้าไม่ให้ ส.ส.เป็นรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าระบบรัฐสภาไม่ได้แก้ปัญหาการซื้อเสียงเลย ก็เลยขัดกับหลักการของรัฐสภา จะเห็นได้ว่า รัฐสภาคือพาหนะของผู้แทนฯ ที่จะเข้าสู่อำนาจรัฐ ซึ่งการที่ผู้แทนฯ หาเสียงเลือกตั้ง โดยมีนโยบายในการหาเสียงต่างๆ ในการหาเสียงกับประชาชน แต่เมื่อได้เข้าไปเป็น ส.ส. กลับหมดโอกาสบริหาร (เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมักแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นรัฐมนตรี) ทำให้ปัญหาของชาวบ้านไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งรัฐมนตรีก็ไม่แก้ไขให้ เนื่องจากเป็นบุคคลภายนอกที่นายกฯ แต่งตั้งเข้ามาจะไม่สนใจพวก ส.ส เพราะเห็นว่านายกเป็นคนเลือกเข้ามา
จากข้อ 2. สมาชิกรัฐสภาสามารถเข้าถึงหรือตรวจสอบฝ่ายบริหารได้
สมาชิกสภาผู้แทนฯ จะต้องเข้าถึงและตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ การเข้าถึงหรือตรวจสอบได้คือ ตามรูป A สุดแท้ว่าเราจะมีมาตรการอะไรบ้างในการเข้าถึง และตรวจสอบ ถ้าไม่เขียนให้เข้าถึง หรือตรวจสอบไม่ได้ ก็ต้องเขียนให้แยกอำนาจจากกัน
2.1 สมาชิกรัฐสภาเข้าถึงฝ่ายบริหารได้ยาก โดยการตรวจสอบการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากหลัก 6 ประการ
2.1.1 การตั้งกระทู้
(1) การตั้งกระทู้ถามธรรมดา มาตรา 183
(2) การตั้งกระทู้สด มาตรา 184
(3) การให้สิทธิ รมต.ที่มีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ก็ได้
(4) ข้อจำกัดในการตั้งกระทู้ (ต้องถามได้อย่างกว้างขวางจึงจะถูกต้อง)
เป็นการขัดต่อระบบรัฐสภา
2.1.2 ญัตติ
2.1.3 อภิปรายไม่ไว้วางใจ
2.1.4 ตั้งกรรมาธิการ
2.1.5 การถอดถอน
2.1.6 การตรวจสอบเรื่องงบประมาณ
2.2 การเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไป
2.2.1 การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ มาตรา 185 (ปัญหาอยู่ที่จำนวนเสียง)
2.2.2 การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รมต. มาตรา 186 (ปัญหาอยู่ที่จำนวนเสียง)
2.2.3 การเปิดอภิปรายทั่วไปในการประชุมร่วมกันของสภาเพื่อฟังความเห็น มาตรา 213 (กำหนดให้ลงมติไม่ได้ เพราะลอกมาจากฝรั่งเศส) ที่ถูกต้องควรจะให้มีการลงมติ เพราะมาตรา 213 เป็นเรื่องการตรวจสอบของสภา
2.2.4 การห้ามมิให้มีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ มาตรา 159 เป็นการบล็อกการทำงานของสภา ความจริงในเรื่องการตรวจสอบต้องตรวจสอบได้ง่าย
2.3 กลไกคณะกรรมาธิการ เพื่อตรวจสอบว่าฝ่ายบริหารที่ดำเนินตามนโยบายที่แถวงไว้ต่อรัฐสภา (มาตรา 211,212) (บกพร่องที่คณะกรรมาธิการขาดสภาพบังคับ) จะต้องแก้ให้คณะกรรมาธิการมีอำนาจ (เช่น โดยการเอาอำนาจขององค์กรอิสระมาให้คณะกรรมาธิการ มิฉะนั้นคณะกรรมาธิการจะไม่มีอำนาจ)
2.4 การพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ( มาตรา 180)
ไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐสภา หรือ ระบบประธานาธิบดี ก็ให้รัฐสภาเป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณ
2.5 กระบวนการในการถอดถอนวุฒิสภา (มาตรา 303 )
2.5.1 เหตุที่จะร้องขอให้ถอดถอนและผู้มีอำนาจลงมติถอดถอน (มาตรา 303)
2.5.2 ผู้มีสิทธิร้องขอให้ถอดถอนและคำร้องขอให้ถอดถอน (มาตรา 304)
2.5.3 กระบวนการในการถอดถอน (มาตรา 305 , 306 )
2.5.4 จำนวนเสียงในการลงมติให้ถอดถอนและผลการถอดถอน (มาตรา 307)
(ใช้จำนวนเสียงมากเกินไป ต้องปรับให้จำนวนเสียงลดน้อยลงเพื่อเอารัฐมนตรีขี้โกงออกได้) และเสียงข้างมากเป็นของรัฐสภา จึงไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
2.5.5 ความไม่สอดคล้อง กับการปกครองในระบบรัฐสภา เช่น
(1) จำนวนผู้มีสิทธิร้องขอให้ถอดถอน
(2) รายละเอียดในคำร้องขอให้ถอดถอน ( ทำให้เกิดความยุ่งยาก)
(3) ขั้นตอนการถอดถอนมีหลายขั้นตอน กลับไปกลับมา
(4) การให้อำนาจ ปปช. มีอำนาจในการไต่สวน (ควรจะอยู่ที่วุฒิสภา)
(5) การกำหนดว่ามติของวุฒิสภาถึงเป็นที่สุด
จากข้อ 3. รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารต้องมาจากเสียงข้างมาก
จากข้อ 4. รัฐบาลและรัฐสภาต่างมีอำนาจและต่างมีโอกาสที่จะควบคุมซึ่งกันและกันโดยหลักความรับผิดชอบร่วมกัน

3. หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ กับ หลักความสูงสุดของรัฐสภา เกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร
หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ คือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ หรือรัฐธรรมนูญนิยม หรือความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดจะออกมาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้
หลักความสูงสุดของรัฐสภา คือสภาเป็นใหญ่(ประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบ) โดยให้ความสำคัญกับสภานิติบัญญัติ อังกฤษมิได้ให้ความสำคัญต่อรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนอินเดียก็ใช้ระบบรัฐสภา เพราะมีนายกฯ บริหารประเทศ มีรัฐธรรมนูญ
หลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ กับ หลักความสูงสุดของรัฐสภา ไม่เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ รัฐธรรมนูญจะบัญญัติอย่างไรก็เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ สุดแท้แต่ประเทศไหนจะระบุเรื่องอะไร ซึ่งหลักสำคัญรัฐธรรมนูญมี 3 ประการคือ
1. ต้องมีข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ - จะเป็นหลักประกันให้กับประชาชน
2. ต้องมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยไว้โดยชัดเจน - นิติ บริหาร ตุลาการ
3. ต้องมีข้อจำกัดอำนาจรัฐ - มิใช่จำกัดอำนาจประชาชน
แต่หลักความสูงสุดของรัฐสภา นั้น เป็นหลักให้ความสำคัญกับสภา (นิติบัญญัติ)
การปกครองในระบบรัฐสภา มีความสัมพันธ์กับรัฐธรรมนูญอย่างไร
การปกครองในระบบรัฐสภา ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภา จะมีรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ได้ (อังกฤษ) แต่การปกครองในระบบรัฐสภาที่จะเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ จะต้องบรรจุหลักการข้อกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่นบทบัญญัติที่ว่าด้วย ญัตติ กระทู้ อภิปรายไม่ไว้วางใจ กรรมาธิการ ถอดถอน การตรวจสอบเรื่องงบประมาณ แต่ที่สำคัญต้องบรรจุเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของรัฐสภาว่า กระบวนการทำงานของรัฐสภามีอะไรบ้าง และ กระบวนการทำงานของรัฐสภาเหล่านั้นถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญอย่างไร แล้วจะนำไปสู่ว่ารัฐธรรมนูญนั้น สอดคล้องหรือไม่กับหลักการปกครองระบบรัฐสภา และจะสอดคล้องหรือไม่ก็ต้องกลับไปดูว่าหลักการของระบบรัฐสภามีอยู่อย่างไร


4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสอดคล้องกับหลักการของประธานาธิบดีมากที่สุดก็คือ กทม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสอดคล้องกับหลักการของประธานาธิบดีน้อยที่สุดก็คือ อบต.
ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น เป็นความสัมพันธ์ควบคุมบังคับบัญชาและมีทั้งการกำกับ การปกครองส่วนท้องถิ่น นายก อบต. อบต. ทั้งหลายมาจากการเลือกตั้งโดยจากประชาชน เป็นการได้รับอำนาจโดยตรงจากประชาชน เหมือนกับระบบประธานาธิบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กทม. เหมือนระบบประธานาธิบดี มีผู้ว่าฯ มี สก.ฯ ต่างคนก็ต่างอยู่ สก.ฯ อภิปรายไม่ไว้วางใจผู้ว่าฯ ไม่ได้ ผู้ว่าฯ จะยุบสภา กทม. ก็ไม่ได้ อำนาจของผู้ว่าก็บริหารไป สก.ฯ ก็ออกข้อบัญญัติ กทม.ไป เทศบาลก็ออกข้อบัญญัติ ตำบลก็ออกข้อบังคับตำบล
รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นรูปแบบเหมือนประธานาธิบดี แบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจออกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเรามันยังไม่ไปถึงจุดนั้น เพราะยังมีการกำกับดูแลจากส่วนกลาง เช่น รมต.มท. ปลดผู้ว่า กทม. / ผู้ว่า ยุบ อบต. เป็นต้น
กทม. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสอดคล้องกับหลักการของ
ประธานาธิบดีมากที่สุด เนื่องจากว่า มีไม่กี่บทมาตราที่ให้อำนาจราชการส่วนภูมิภาคเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ที่ไม่สอดคล้องกับระบบประธานาธิบดี คือ
มาตรา 19 ถ้าปรากฏว่าการดำเนินการของ ผู้ว่า กทม. และ สภากทม. ขัดแย้งกัน หรือการดำเนินงานของ ผู้ว่า กทม. และ สภา กทม. เป็นไปทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจก่อเกิดความเสียหายแก่ กทม. รมต.มท. โดยอนุมัติ ครม. อาจยุบสภา กทม.ได้
มาตรา 36 ในที่ประชุม กทม. สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่า กทม. ในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับการงาน แต่ผู้ว่า กทม. มีสิทธิที่จะไม่ตอบ
มาตรา 37 สมาชิกสภา กทม. จำนวนไม่น้อยกว่า 2/5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ ผู้ว่า กทม. แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการ กทม. แต่ สภา กทม.จะลงมติในปัญหาที่อภิปรายไม่ได้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสอดคล้องกับหลักการของประธานาธิบดีน้อยที่สุด
ก็คือ อบต. เนื่องจากถูกราชการส่วนภูมิภาคเข้ามากำกับดูแลมาก จนเป็นการควบคุม บทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับระบบประธานาธิบดีคือ
มาตรา 90 ให้นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ อบต.
มาตรา 91 เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ในเขต อบต. หรือประโยชน์ของประเทศส่วนรวม นายอำเภอจะรายงานเสนอความเห็นต่อ ผวจ. เพื่อยุบสภา อบต. ก็ได้
มาตรา 92 หากปรากฎว่า นายก อบต. รอง นายก อบต. ประธานฯ อบต. รอง ประธาน อบต. ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ ให้นายอำเภอสอบสวนโดยเร็ว คำสั่ง ผวจ. ให้เป็นที่สุด

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณนะคะ ขอให้ความดีนี้ส่งผลให้สอบผ่านนะคะ โอมเพี้ยง!

    ตอบลบ
  2. โอพระ เจ้า พรใดอันประเสริฐในใต้หล้าที่ข้าพเจ้าต้องการเหนือพรนี้หามีไม่ ขอคุณครับ เช่นกันนะครับ โอมเพี้ยง !

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณ ทุก ท่าน ครับบบบบ

    ตอบลบ